ประวัติพระผงสุพรรณ
เนื้อดำ ไม่มีกนก พิมพ์หน้าหนุ่ม กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
สารบัญ
- ประวัติพระผงสุพรรณ
- ตำนานการสร้าง
- ที่มากรุแตก
- อภินิหารเรื่องเล่า
- การอาราธนาบูชา
- ลักษณะรูปทรง
- พุทธคุณ
- ข้อสังเกตุพิมพ์
- ข้อสังเกตุทัวไป
ประวัติพระผงสุพรรณ
ประวัติพระผงสุพรรณ เนื้อดำ ไม่มีกนก พิมพ์หน้าหนุ่ม กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ องค์นี้
มีบันทึกเป็นหลักฐาน พระผงสุพรรณ พบจากพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ.2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯไปสุพรรณบุรี พระยาสุนทรสงคราม (อี้ กรรณสูต) เจ้าเมืองได้เอาพระเครื่อง เป็นพระพุทธรูปลีลาหล่อด้วยโลหธาตุ อย่าง 1 พระพุทธรูปมารวิชัย พิมพ์ด้วยดินเผา (พระผงสุพรรณ) อย่างหนึ่งอย่างละหลายร้อยองค์ ที่ได้จากกรุ ส่วนทางราชการ นำโดย สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสาะหาที่ตั้งของเจดีย์ยุทธหัตถี ครานั้น พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูตร) เจ้าเมืองสุพรรณบุรีขณะนั้น จึงได้พบองค์พระปรางค์ ปรากฏว่ามีจารึกลานทองบางส่วนถูกขโมยไปและได้คืนมาบ้าง นอกจากนี้ยังได้มีการขึ้นทูลเกล้าฯถวาย
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแจกเสือป่า ลูกเสือ ทหาร ตำรวจภูธร บรรดาที่ได้เสด็จคราวนี้ โดยทั่วกัน รวมถึงพระองค์ทรงแจกบางส่วนแก่ข้าราชบริพารผู้ติดตาม พระผงสุพรรณ จึงอยู่ในมือตระกูลราชการเก่าๆ ด้วยส่วนหนึ่ง
หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ นักโบราณคดี ให้ความเห็นว่า พระปรางค์ที่บรรจุพระผงสุพรรณ สร้างในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา พิจารณาจากองค์พระปรางค์ และจารึกลานทองอักษรขอมภาษามคธ ที่บรรจุไว้บนยอดพระนพศูล ซึ่งมีคำแปล ต่อไปนี้
พระราชาผู้ยิ่งใหญ่กว่าพระราชาทั้งหลายในอโยธยา ทรงพระนามว่าพระมหาจักรพรรดิ โปรดให้สร้างสถูปองค์นี้ขึ้นไว้…แต่พระสถูปของพระองค์ชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา พระราชโอรสของพระองค์ ผู้เป็นพระราชาเหนือพระราชา โปรดให้ปฏิสังขรณ์ ให้กลับคืนดี
หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์สันนิษฐานว่า พระมหากษัตริย์ทั้งสองคู่นี้ น่าจะเป็นพระนครินทราธิราช (พ.ศ.1952–1967) กับเจ้าสามพระยา ผู้ซ่อม (พ.ศ.1967–1991) หรือไม่ ก็เป็น เจ้าสามพระยา ผู้สร้าง กับพระบรมไตรโลกนาถ ผู้ซ่อม (พ.ศ.1991–2031)
พระผงสุพรรณจึงเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง และเป็นหนึ่งอยู่ในชุดเบญจภาคีที่โด่งดัง ที่เมืองสุพรรณแห่งนี้ ถ้าเอ่ยถึงกรุพระเครื่อง ที่ยิ่งใหญ่และยังคงประจักษ์พยานให้เห็นอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้ ก็ต้องยกให้กับองค์พระปรางค์ใหญ่ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลรั้วใหญ่อำเภอเมืองจังหวัดสุพรรณบุรีมาเป็นอันดับหนึ่งจากบรรดากรุพระอีกมาก ซึ่งถูกคนพบในเมืองสุพรรณนี้
ตำนานการสร้าง
ตำนานการสร้างพระผงสุพรรณนั้น ท่านอาจารย์กลิ่น วัดจักรวรรดิ์ ฯ จังหวัดพระนคร ได้บอกเล่าว่าท่านมหาชื้น วัดจักรวรรดิ์ ฯ เป็นผู้ตัดต่อจากลานทอง ที่ปรางวัดพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ,ศ 2453 มีใจความดังนี้ คือ
มีจารึกลานทองอีกแผ่นหนึ่ง ศุภมัสดุ 1265 (พ.ศ.1886) บอกให้รู้ว่า มีฤาษีทั้ง 4 ตน มีพระฤาษีสิทธิการิยะ พระฤาษีตาวัว พระฤาษีตาไฟ พระฤาษีพิมพลาไลย โดยแสดงบาทไว้ให้รู้ว่า มีพระฤาษีพิลาไลย เป็นองค์ประธานในการสร้างพระพิมพ์ เราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐ์มีสุวรรณ เป็นต้น คือ พระบรมกษัตริย์ พระศรีธรรมาโศกราชเป็นผู้ศรัทธา ฤาษีทั้ง 4 ตน จึงพร้อมใจกันนำเอา แร่ ว่าน ทั้งหลายอันมีฤทธิ์ กับแร่ต่างๆ ทำเป็นพระพิมพ์ไว้ ครั้งได้แล้วพระฤาษี จึงอันเชิญเทพยดา เข้ามาช่วยกันทำพิธีเป็น พระพิมพ์สถานหนึ่งดำ สถานหนึ่งแดง ได้เอาว่านทำผงปั้นพิมพ์ด้วยลายมือ พระมหาเถรปิยทัสสะดิสศรีสาริบุตร คือเป็นใหญ่ เป็นประธานในที่นั้น ได้เอาแร่ต่างๆ ซัดยาสำเร็จแล้วให้นามว่า “แร่สังฆวานร “ ได้หล่อเป็นพิมพ์ต่างๆ มีอานุภาพต่างๆกัน เสกด้วยมนต์คาถาครบ ๓ เดือน แล้วเอาไปประดิษฐานไว้ในสถูปใหญ่แห่งเมืองพรรธม
พระผงสุพรรณ เป็นพระกรุเก่าแก่ศิลปะยุคอู่ทอง เนื้อดินเผา ได้นำดินที่เป็นมวลสารหลักเป็นดินที่มีเนื้อละเอียด เมื่อนำมาผสมน้ำว่านยาต่างๆ จึงมีความละเอียดมากขึ้น แล้วนำมาผ่านการกรอง หมัก และนวดอย่างพิถีพิถัน ผสมกับว่านและเกสรดอกไม้มงคล โดยการนำหัวว่านมาคั้นเอาแต่น้ำมาผสม เรียกว่า ‘แก่ว่าน’ ดังนั้น เมื่อผ่านกรรมวิธีการเผา ผิวขององค์พระจึงไม่เป็นโพรงจากการย่อยสลายของเนื้อว่าน และเนื้อจะดูชุ่มฉ่ำไม่แข็งกระด้าง วงการพระเรียก ‘หนึกนุ่มซึ้งจัด’ อันเป็นลักษณะพิเศษที่ต่างจากเนื้อดินทั่วไป อีกทั้งกรรมวิธีการเผามีการควบคุมอุณหภูมิความร้อนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้เนื้อขององค์พระมีสภาพแข็งแกร่งไม่เปราะหักง่ายเหมือนพระเนื้อดินเผาอื่นๆ แต่สีสันยังคงเป็นเช่นเดียวกัน คือ มีตั้งแต่สีแดง สีมอย สีน้ำเงินเข้ม สีเทา ไปจนถึงสีดำลักษณะคล้าย ‘ผง’ อีกทั้งยังมี ‘จารึกลานทอง’ ที่พบก็ได้กล่าวถึงการสร้างที่มีส่วนผสมของผงว่านและเกสรดอกไม้ 108 เดิมทีชาวบ้านจึงมักเรียกกันว่า “พระเกสรสุพรรณ” หรือ ‘พระผงสุพรรณ’ และติดปากมาถึงปัจจุบัน
พระผงสุพรรณ เป็นพระที่บรรจุในกรุ และผ่านกาลเวลายาวนาน จึงมีคราบดินกรุติดอยู่ทั่วบริเวณองค์พระและตามซอกต่างๆ เรียกว่า “นวลดิน” โดยเฉพาะพระที่ไม่ได้ผ่านการใช้จะปรากฏชัดเจน คราบนวลดินนี้จะเกาะติดแน่นแทบกลืนเป็นเนื้อเดียวกันกับผิวขององค์พระ นับเป็นเอกลักษณ์สำคัญอีกประการหนึ่ง
ที่มากรุแตก
อภินิหารเรื่องเล่า
พระผงสุพรรณ เป็นยอดพระเครื่องฯ ในชุดเบญจภาคีที่มีค่าเป็นอันดับหนึ่ง ในเมืองสุพรรณ แต่ปัจจุบันนี้หาได้ยาก สมัยก่อนโน้น ชาวเมืองสุพรรณนิยม กีฬาชนควาย พนันกัน เอาเงินเอาทองและเล่นกันมาก ประจวบกับในระหว่างนั้น พระผงสุพรรณนั้นมีมาก และไม่มีมูลค่า(เทียบกับราคาของเงิน )เหมือนเช่นปัจบันนี้ จึงได้นำเอาพระผงสุพรรณองค์ที่แตกหัก ไปป่นให้ละเอียด ผสมคลุกกับหญ้าให้ควายกิน แล้วนำควายไปชนกัน ปรากฏว่า ควายที่กินเศษผงพระผงสุพรรณเข้าไป ขวิดได้ดีมาก และหนังเหนียวเสียด้วย เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก จึงเชื่อกันว่าพระผงสุพรรณนั้น เป็นที่รู้จักกันในสายคงกะพัน ชาตรี
การอาราธนาบูชา
ห้เอาพระผงสุพรรณสรงน้ำหอม นั่งบริกรรม พุทธคุณ, ธรรมคุณ, สังฆคุณ ๑๐๘ จบ สวดพาหุง ๓ จบ
ให้เก็บน้ำมันหอมไว้ใช้ได้เสมอ และถ้าจะให้เพิ่มความขลังให้ว่าบทดังนี้อีกกลั้นลมหายใจให้เป็นสมาธิเพื่อความขลังยิ่งขึ้นว่า
คะเต ลิก เก กะระณังมะหา ชัยยังมังคะลัง นะมะพะทะ กิริมิติ กุรุมุธุ เกเรเมเถ กะระมะถะ
ประสิทธิ์นักแลฯ
ลักษณะรูปทรง
- รูปทรงขององค์พระมีกรอบ เป็นรูปสามเหลี่ยมคางหมู ทรงสูงฐานล่างกว้าง ปลายบนเล็กยอดตัด ตลอดจนขอบข้าง ใต้ฐานขององค์พระ การตัดขอบไม่มีรูปแบบแน่นอน
- บางรูปทรงขององค์พระผงสุพรรณบางแบบแม่พิมพ์ชนิดคล้ายพระนางพญาก็มี แต่มีน้อยมาก พระวรกาย เป็นพระพุทธรูป ศิลป์สมัยอู่ทอง
- แบบพิมพ์ที่มารตฐานตามหลักสากลนิยม มี 3 แบบคือ พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และ พิมพ์หน้าหนุ่ม
- ลักษณะรวมส่วนใหญ่ รูปทรงผม ซ้อนกัน 3ชั้น แขน หย่อนยาน ปลายหูซ้ายหักเข้ามุมใน ต้นของหูติดกับหน้า คล้ายหูแพะ หน้าอก คล้ายหัวช้าง ท้องแฟบ ด้านหลังจะปรากฏรอยนิ้วมือเกือบทุกองค์ ที่พบเจอ บงบอกถึงรายมือผู้สร้าง โดยเอกลักษณ์ส่วนตัวของผู้สร้าง
- พระผงสุพรรณนั้น มีสีที่แตกต่างกัน ถึง 4 สี คือ
- สีดำ
- สีแดง
- สีเขียว
- สีพิกุลแห้ง
จึงทำให้พระผงสุพรรณ เป็นยอดพระเครื่องฯ ในชุดเบญจภาคีที่มีค่าเป็นอันดับหนึ่ง ในเมืองสุพรรณ แต่ปัจจุบันนี้หาได้ยาก
พุทธคุณ
พระผงสุพรรณ พุทธคุณ ครบทุกด้าน ทั้งมหาอุด แคล้วคลาด คงกระพัน และเมตตามหานิยม เป็นยอดพระเครื่องฯ ในชุดเบญจภาคีที่มีค่าเป็นอันดับหนึ่ง ในเมืองสุพรรณ แต่ปัจจุบันนี้หาได้ยาก สุดยอดพระเครื่องของเมืองไทย ที่เป็นที่ใฝ่ฝันและแสวงหานั้น เป็นวัตถุมงคลอันศักดิ์สิทธิ์แห่งดินแดนยุทธหัตถี ถ้าผู้ใดได้พบให้รีบเอาไปสักการบูชาเป็นของวิเศษนักแล ฯ
ขัอสังเกตุพิมพ์
พิมพ์หน้าแก่ เค้าหน้าจะมีเค้าความเหี่ยวย่นคล้ายคนแก่ ตาด้านซ้ายขององค์พระยาวรีและลึก ปลายตวัดขึ้นสูงกว่าด้านขวา แก้มแย้มเล็กน้อย หูด้านขวาขมวดแบบมวยผม และตอนบนมีร่องลึกเหมือนร่องหู หูซ้ายด้านบนใหญ่หนาคล้ายหูคน และมีเม็ดผดคล้ายเมล็ดข้าวสารสลับไปมาถึงปลายหู หน้าอกใหญ่แล้วคอดกิ่วมาทางเอวคล้าย “หัวช้าง” มือซ้ายหนาใหญ่ ปลายมือไม่ถึงขาขวา ข้อขาขวาด้านในเว้าลึก
พิมพ์หน้ากลาง เค้าหน้ามีความอิ่มเอิบคล้ายคนหนุ่ม หน้าตาอารมณ์วางเฉย ขากรรไกรกลมมนไม่เสี้ยมเหมือนพิมพ์หน้าแก่ คิ้วเป็นขอบลึกวาดตามรูปหน้าคล้ายกับพิมพ์หน้าแก่ แต่ปลายไม่เชิดสูงตามหางตา ตาได้ระดับเสมอกัน ไม่เหลือบสูงต่ำเหมือนพิมพ์หน้าแก่ ทำให้ลดความดุดันลง แต่ดวงตาเป็นลักษณะเดียวกัน คือด้านขวาโบ๋ ด้านซ้ายโปนออกมา จมูกป้านปลายบาน และปากเล็กจู๋เหมือนพิมพ์หน้าแก่ หูด้านซ้ายยาวกว่าพิมพ์หน้าแก่ และหูด้านขวาสั้นกว่า ไม่มีเส้นคอ บ่ากลมมน บางองค์ช่วงไหปลาร้าจะบุ๋มลงไป แขนท่อนบนลีบและผอม ทำให้ช่วงรักแร้ห่างกว่าพิมพ์หน้าแก่ และช่วงแขนท่อนบนด้านซ้ายจะยาวและเล็กกว่าด้านขวา ทำให้เห็นข้อศอกซ้ายต่ำกว่าข้อศอกขวาอย่างชัดเจน มือด้านซ้ายยาวกว่าพิมพ์หน้าแก่ ปลายมือกระดกขึ้น ส่วนด้านขวาเหมือนพิมพ์หน้าแก่ หน้าอกลำตัวคล้าย “หัวช้าง” เหมือนพิมพ์หน้าแก่
พิมพ์หน้าหนุ่ม เค้าหน้าจะดูอ่อนเยาว์ สดใส และเรียวเล็กกว่าพิมพ์หน้าแก่และพิมพ์หน้ากลาง โบราณเรียก “พิมพ์หน้าหนูหรือพิมพ์หน้าเด็ก” ตาทั้งสองอยู่ในระนาบเดียวกัน ปลายตาด้านซ้ายเฉียงขึ้นเล็กน้อย จมูกหนาใหญ่ ริมฝีปากหนา หูตั้งเป็นสันแนบใบหน้าและยาวลงมาเกือบติดไหล่ทั้งสองข้าง หน้าอกหนาใหญ่และเล็กลงมา แขนขวาด้านในเว้าลึก จะมีความหนามากกว่าทุกพิมพ์ และจะตัดขอบชิดเส้นทรวดทรงขององค์พระ สามารถเห็นมิติความตื้นความลึกได้อย่างชัดเจน อีกทั้งเป็นพิมพ์ที่มีความลึกและคมชัดมาก สันนิษฐานว่าการถอดแม่พิมพ์น่าจะค่อนข้างยากเป็นพิเศษ ทำให้หาองค์พระที่อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์จริงๆ ได้น้อยมาก
ข้อสังเกตทั่วไป
- พระผงสุพรรณนั้น เป็นพระพิมพ์ชนิดเดียว ที่มีจารึกระบุไว้ว่า เป็นพระเครื่องมีอานุภาพสารพัน อธิษฐานขออะไรได้ดังตามใจปรารถนาทุกประการ
- หลักการของคนดูพระเป็นของนักสะสมรุ่นเก่า ที่รู้จักพระแท้ เขาดูแต่พิมพ์ทรงว่าถูกต้อง ตำหนิลับมีครบ เนื้อเก่าตามกาลเวลาสมาอายุพระหรือไม่ ถ้าดูพิมพ์ว่าใช่ เนื้อพระว่าใช่แล้ว ดังเช่น พระผงสุพรรรณ เนื้อดำ พิมพ์หน้าหนุ่มองค์นี้ ทุกส่วนขององค์ประกอบลงตัว ก็สามารถตัดสินใจได้ทันที ว่าเป็นพระแท้ดูง่าย น่าสะสม
- คือเรื่องของผู้ครอบครอง วิธีของคนขายพระผงสุพรรณปลอม มักมีเรื่องเล่า การเป็นมรดก ตกทอดจากปู่ย่า…ที่อยู่บ้านเก่าเสาโย้ หลอกลวงเอาเงินไปนักต่อนัก
แหล่งที่มาข้อมูล
รวบรวมข้อมูลในอินเตอร์เน็ต www.google.com และข้อมูลทั่วไปใน เว็บไซต์ บทความ ข้อความ เฟตบุ๊ค สอบถามผู้รู้ และอื่นๆ