พระหล่อโบราณ หลวงพ่อเงิน พิมพ์นิยม 4 ชาย วัดบางคลาน พิจิตร
ของนักสะสมรุ่นเก่าๆ มักจะมีการเก็บพระไว้ตามสภาพเดิม ไม่สัมผัสเนื้อพระ งานฝีมือช่าง การแต่งหุ่นเทียนที่คมชัดสวยงาม เก็บรายละเอียดได้เรียบร้อยมีมิติ พระหล่อโบราณจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงเนื้อตามธรรมชาติ สนิมร่องรอยตะไบความเก่า คราบที่มีอายุมาก แท้ดูง่าย แบ่งปันให้บูชา ให้ผู้ที่มีบุญสัมพันธ์เก็บไว้เป็นคู่บารมี สะสมไว้วันข้างหน้ามูลค่าบูชาจะยิ่งสูงขึ้นไปกว่าปัจจุบัน พระชุดนี้ครอบครองด้วย Amulet Ping
สารบัญ
-
ประวัติหลวงพ่อเงิน
-
วัตวัตถุประสงค์การสร้าง
-
ขั้นตอนการสร้างหุ่นเทียน
-
การแต่งหุ่นเทียน
-
อุปกรณ์ที่ใช้แต่งหุ่นเทียน
-
การเข้าเบ้าหุ่นเทียน
-
การสร้างเบ้าหุ่นเพื่อเทโลหะ
-
โลหะที่นำมาใช้ในการเทหลวงพ่อเงิน
-
การเก็บรายละเอียดการตกแต่งองค์พระ
-
การให้เช่าบูชาพ่อเงิน
-
พระคาถาบูชาหลวงพ่อเงิน
-
พุทธคุณพระหล่อโบราณ หลวงพ่อเงิน
-
ตำนาน เล่าขาน
ประวัติหลวงพ่อเงิน
หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ เกิดเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2351 ตรงกับวันศุกร์ แรม 12 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง ในปลายแผ่นดินของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โยมบิดาชื่อ อู๋ เป็นชาวบางคลาน โยมมารดาชื่อฟัก เป็นชาวแสนคอ (อำเภอขาณุวรลักษบุรี) โดยหลวงพ่อเงินเป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน
เมื่อท่านอายุได้ 3 ขวบ ผู้เป็นลุงได้พามาอยู่ที่กรุงเทพฯ เพื่อศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดตองปุ หรือ วัดชนะสงคราม ต่อมา เมื่อท่านอายุ 12 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดชนะสงคราม ศึกษาพระธรรมวินัย ก่อนที่หลวงพ่อเงินจะบวชเป็นพระ ท่านได้สึกจากการเป็นสามเณรเมื่ออายุครบ 20 ปี และได้กลับไปสู่บ้านเกิดเมืองนอนคือจังหวัดพิจิตร ระหว่างที่สึกออกมานี้ ด้วยความที่เป็นวัยฉกรรจ์ ท่านได้ไปชอบพอกับสาวชาวบ้านชื่อ เงิน เช่นเดียวกัน แต่ด้วยมิใช่เนื้อคู่ จึงทำให้ต้องแคล้วคลาดจากกัน มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อครั้งที่ท่านไปมาหาสู่ที่บ้านสาว ตอนขึ้นบ้านนั้นขั้นบันไดเกิดหักขึ้นมาทำให้ท่านตกบันได ท่านจึงเกิดความละอายและไม่กล้าไปบ้านสาวคนนั้นอีกเลย ครั้นพออายุได้ 20 ปี บิดา มารดา และญาติพี่น้องมีความประสงค์จะให้ท่านอุปสมบทเป็นพระ แต่ท่านไม่ยอมเพราะเกรงว่าอายุของท่านจะไม่ครบบริบูรณ์จริง บรรดาญาติก็อนุโลมตาม จนกระทั่งหลวงพ่ออายุได้ 22 ปี ตรงกับ พ.ศ.2373 ท่านอุปสมบท ณ วัดชนะสงคราม มีฉายาว่า “พุทธโชติ” บวชได้ 3 พรรษา พี่ชายของท่านคือขุนภุมรา ได้เดินทางไปรับกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดคงคาราม (วัดบางคลานใต้) จังหวัดพิจิตร เนื่องจากปู่ของท่านได้ล้มป่วยลง ต้องการให้หลวงพ่อเงินช่วยดูแลรักษาเพราะได้ร่ำเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณและรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีต่างๆ อยู่วัดคงคาราม ได้ 1 พรรษา เนื่องจากท่านเป็นพระนักวิปัสสนากรรมฐานชอบอยู่อย่างสงบในช่วงเข้ากรรมฐาน ท่านเห็นว่าระหว่างแม่น้ำยมและแม่น้ำพิจิตร (แม่น้ำน่านสายเก่า) ที่ไหลมาบรรจบกัน มีวัดร้างเก่าอยู่และมีป่าอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การวิปัสสนากรรมฐานเป็นอย่างมาก พ.ศ.2477 ท่านจึงไปสร้างวัดใหม่ ลึกเข้าไปจากวัดร้างเดิมประมาณ 500 เมตร ชื่อวัดว่า วัดวังตะโก ตามชื่อหมู่บ้าน ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น วัดบางคลาน หรือ วัดหิรัญญาราม ตอนที่ย้ายจากวัดคงคาราม หลวงพ่อได้นำกิ่งโพธิ์ติดตัวมาด้วย 1 กิ่ง แล้วนำกิ่งโพธิ์นั้นมาปลูกเสี่ยงทาย ถ้าหากต้นโพธิ์ตายก็คงจะอยู่ไม่ได้ ถ้าหากที่นี่จะเป็นวัดได้ขอให้ต้นโพธิ์เจริญงอกงาม ปรากฏว่าต้นโพธิ์เจริญงอกงามแผ่กิ่งก้านสาขาใหญ่โต แล้ววัดก็เจริญรุ่งเรืองตามลำดับ จากกุฏิหลังคามุงแฝกเป็นมุงกระเบื้อง และสร้างศาลาพระอุโบสถตามลำดับ ตลอดระยะเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่นี่ ได้บำบัดรักษาผู้ป่วยตามตำรับแพทย์แผนโบราณ การอาบน้ำมนต์ญาติโยมเดินทางมาให้รักษา มาขอมอบตัวเป็นศิษย์อย่างไม่ขาดสาย หลวงพ่อเงินก็ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ที่นี่ด้วย
เมื่อปี พ.ศ. 2356 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 5 ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นครูของท่าน ได้พา หลวงพ่อเงิน ไปอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่งหลวงพ่อเงินเติบโตเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำ หลวงพ่อเงิน ไปฝากไว้ที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือที่วัดชนะสงครามตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2363 หลวงพ่อเงินอายุได้ 12 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชนะสงคราม ฉายา พุทธโชติ แล้วหลวงพ่อเงิน ท่านได้จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเรียนทางวิปัสสนากรรมฐานอยู่ได้ 3 พรรษาขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงคราม ท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาศิลปวิทยาคมตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี จากเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒจารย์(โต) พรหมรังสีวัดระฆังโฆสิตาราม
พออายุได้ ๒๐ ปี บิดา-มารดาและบรรดาญาติมีความประสงค์จะให้อุปสมบทแต่ “หลวงพ่อเงิน” ไม่ยอมเพราะเกรงว่า อายุของท่านจะไม่ครบบริบูรณ์จริง บรรดาญาติก็อนุโลมตามกระทั่งหลวงพ่ออายุได้ ๒๒ ปี ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๓ ได้กำหนดวันอุปสมบทไม่ทราบว่าอุปัชฌาย์ชื่ออะไรเช่นกันได้ฉายาว่า “พุทธโชติ” หลังจากอุปสมบทแล้วได้ศึกษาเล่าเรียน ธรรมะจนแตกฉาน แล้วทำการฝึกฝนวิปัสสนาจนมีญาณสมาธิแก่กล้า จึงมุ่งศึกษาพุทธาคมจาก “หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า” จนมีความชำนาญทางพุทธาคมมาก มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เล่าลือกันในบรรดาชาวบ้านมากมายพอได้อุปสมบทแล้ว ท่านก็ยังศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่ออีกด้วย ต่อมาอีก 3-4 ปี โยมปู่ของท่านป่วยหนัก ท่านจึงได้เดินทางกลับมายังอำเภอโพทะเล ท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดคงคาราม ประมาณ 1 พรรษา แล้วจึงย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ท่านเป็นพระเรืองวิชา ชอบเล่นแร่ แปลธาตุ แต่ หลวงพ่อเงิน ท่านเคร่ง ธรรมวินัย ชอบความสงบ ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่หมู่บ้านวังตะโก ลึกเข้าไปทางลำน้ำเก่า และต่อมาก็ได้สร้างวัดหิรัญญาราม (วัดวังตะโก)
“วัดวังตะโก” เกิดขึ้น เป็นพระอาราม “หลวงพ่อเงิน” ได้เป็นผู้สร้างไว้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2377 ต่อมาวัดวังตะโก หรือวัดหิรัญญารามก็เจริญอย่างรวดเร็ว มีผู้คนเคารพนับถือและถวายตัวเป็นศิษย์ ขอมาฟังธรรมขอเครื่องรางของขลัง และขอให้หลวงพ่อช่วยรักษาโรคให้ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์และสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณฝ่ายวิปัสสนา
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น มีผู้คนมาให้ท่านช่วยรดน้ำมนต์ให้ไม่ขาดสาย ลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงินวัดบางคลานที่มีชื่อเสียงโด่งดังต่อมาก็มีหลายท่าน เช่น หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ที่มีชื่อเสียงในด้านตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อน้อย วัดคงคาราม ผู้สร้างตะกรุดหนังปลากระเบน และตะกรุดหนังอีเก้ง ปลัดชุ่ม วัดท้ายน้ำ หลวงพ่อหอม วัดหลวง หลวงพ่อนวล วัดหาดมูลกระบือ หลวงพ่อฟุ้ง วัดปากน้ำ หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย หลวงพ่อไป๋ วัดท่าหลวงพล ผู้สร้างเหรียญหล่อหลวงพ่อเพชรจำลอง หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ เป็นต้น นอกจากนี้ศิษย์ฆราวาสก็คือเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ท้ายที่สุด หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณ ฝ่ายวิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อเงิน ท่านได้มรณภาพ ด้วยโรคชรา เมื่อวันศุกร์เดือน 10 แรม 11 ค่ำ ปีมะแมเวลา 5.00 น.ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2462รวมอายุได้ 111 ปีพรรษา 90 ณ วัดวังตะโก ตำบลบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร คงทิ้งไว้แต่เรื่องราวอันเป็นปาฏิหาริย์มากมาย นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีอายุยืนนานมากที่สุดรูปหนึ่ง ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร พระเครื่องหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานนับเป็นอีกหนึ่งในจำนานของวงการพระเครื่องไทย (ที่มา)
จากหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพิจิตร ได้กล่าวถึงผลงานที่สำคัญหลวงพ่อเงินไว้ว่า ผลงานที่สำคัญของหลวงพ่อเงิน
1. ด้านการก่อสร้าง หลวงพ่อเงินมักเป็นธุระในการก่อสร้างถาวรวัตถุ เพราะท่านเป็นนักก่อสร้าง ได้ก่อสร้างโบสถ์ วิหาร วัดใกล้เคียงอยู่เสมอ โดยเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างจากการรวบรวมทรัพย์จากการทำวัตถุมงคล เช่น พระเครื่อง พระพิมพ์ต่างๆ พระบูชา ตลอดจนมีผู้บริจาคร่วมก่อสร้างศาลาพักร้อน เพื่อคนที่สัญจรไปมาจะได้พัก ศาลาที่ยังคงเหลืออยู่ เช่น ศาลาพักร้อนที่อยู่ระหว่าง หนองหลวงกับหนองขาว และที่หนองแหน เขตตำบลบางคลาน อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร
2. ด้านการรักษาด้วยวิชาแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อเงินเป็นหมอแผนโบราณที่เก่งทางด้านรักษาโรคภัยไข้เจ็บด้วยยาสมุนไพร หรือบางครั้งก็ใช้น้ำมนต์รักษา (คงจะได้ผลทางด้านกำลังใจในฐานะพระที่มีวิชาวิปัสสนาแก่กล้า) ปัจจุบันตำรายาสมุดข่อยของท่านยังคงเก็บรักษาไว้ที่วัดบางคลาน
3. ทางด้านวิปัสสนาเป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เป็นศิษย์สำนักเดียวกันและเป็นเพื่อนสนิทกับ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งท่านได้แนะนำ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ให้มาเรียนทางด้านวิปัสสนากับหลวงพ่อเงิน รวมทั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสก็เสด็จมาประทับ ณ วัดวังตะโก เป็นเวลาหลายวันเพื่อทรงศึกษาทางด้านวิปัสสนา
หลวงพ่อเงินถึงแก่มรณภาพเมื่อก่อนรุ่งสางของวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2462 แรม 11 ค่ำ เดือน 10 เวลาประมาณตีห้า (ตรงกับเช้าวันเสาร์ เวลาไทยหากยังไม่รุ่งสางยังนับเป็นวันศุกร์) สิริอายุได้ 111 ปี
วัตถุประสงค์การสร้าง
สร้างรพระหล่อโบราณพิมพ์นิยม หลวงพ่อเงิน แห่งวัดบางคลาน หลวงพ่อเงินท่านได้จ้างช่างจากบ้านช่างหล่อกรุงเทพมหานคร โดยให้ นางวัน สุทัศน์ ณ อยุธยา เป็นผู้ออกแบบพร้อมนำไปจัดสร้าง และสร้างพระหล่อโบราณ พระรูปหล่อพิมพ์นิยม เหรียญพิมพ์จอบใหญ่ เหรียญพิมพ์จอบเล็ก โดยประมาณปีที่สร้างอยู่ระหว่าง พ.ศ.2451-2459 สาเหตุที่ได้สร้างพิมพ์ต่างๆนี้ขึ้นมา เพราะพระพิมพ์ขี้ตามีขนาดให้เกินไป รวมถึงการออกแบบ การสร้างไม่สวย จึงให้นางวัน สุทัศน์ ณ อยุธยา เป็นตัวแทนช่วยดำเนินการให้ หลวงพ่อเงินท่านได้ให้บ้านช่างหล่อ ที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ผู้ที่มีความชำนาญด้านงานฝีมือ ให้ทำบล็อกแม่พิมพ์ขึ้นมา หลายแบบ โดยหลวงพ่อเงินท่านได้เลือกแบบที่คมชัดเจน และสวยงาม ตามที่บ้านช่างหล่อที่ออกแบบมาให้หลวงพ่องเงินพิจารณา โดยมีการออกแบบแบ่งเป็น 3 พิมพ์ ดังนี้
- บล็อกพิมพ์นยิม (สัญลักษณ์พระบูชาไว้ตามหิ้งพระ)
- บล็อกจอบใหญ่ (สัญลักษณ์จอบที่ใช้ทำนา แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ ใช้ห้อยแขวนติดตัวไปได้)
- บล็อกจอบเล็ก (สัญลักษณ์จอบที่ใช้ทำนา แสดงถึงความอุดมสมบูรรณ์ ใช้ห้อยแขวนติดตัวไปได้)
แต่ละบล็อกจะมีขนาดไม่เท่าเกัน รวมถึงการออกแบบก็ไม่เหมือนกัน พอท่านได้เลือกบล็อกแล้วท่านได้ให้ นางวัน สุทัศน์ ณ อยุธยา เป็นผู้ดำเนินการสร้าง โดยใช้โลหะที่เหลือจากการหล่อพระองค์ใหญ่ และโลหะที่ได้จากชาวบ้านผู้จิตศรัทธาบางส่วน นำมาเพิ่ม เพื่อที่จะชาวบ้านที่ประสงค์ต้องการนำไปบูชา ขณะนั้นผู้ที่ประสงค์บูชา คือผู้ที่มีฐานทางการเงิน และใจบุญ จึงมีจำนวนการสร้างน้อยตามโลหะที่ได้ จึงทำให้มีการสร้างยุคแรกมีจำนวนไม่มาก เท่าที่คนต้องการบูชา และให้ญาติโยมที่ใกล้ชิดเท่านั้น และได้นำเงินมาบูรณะวัดให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
ขั้นตอนการสร้างหุ่นเทียน
ทางบ้านช่างหล่อได้นำเทียนที่ใช้แล้วในวัด ที่ได้จากชาวบ้านที่ใจบุญ และทางบ้านช่างหล่อ ร่วมกันนำเทียน หรือขึ้ผึ้ง ที่มีในแต่ละบ้านมารวมกัน แล้วนำมาต้มให้ละลาย เพื่อคัดสิ่งของที่ไม่ต้องการออกออกจากเทียน แล้วนำบล็อกที่สร้างมา ทั้ง 3 บล็อก ทั้งบล็อกนิยม บล็อกจอบใหญ่ และบล็อกเล็ก แล้วนำเทียนที่ได้เทลงบล็อก พอเย็นได้ที่ นำหุ่นเทียนออกจากเบ้าบล็อก แล้วนำหุ่นเทียนที่ได้มาประกบหน้าหลัง บล็อกที่สร้างสำหรับเข้าหุ่นเทียนก็มีหลายบล็อก และรูปแบบลักษณ์ก็แต่งต่างกัน ตามงานฝีมือช่างบ้านช่างหล่อ ทำให้พระดูมีหลากหลายรูปแบบ และเสน่ห์ในงานฝีมือ
การแต่งหุ่นเทียน
งานการแต่งหุ่นเทียนนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นงานฝือมือช่างที่มีฝีมือ ช่างที่แต่งหุ่นเทียนต้องเป็นผู้ที่คิดดี ทำดี จิตใจดี ที่จะเข้ามาช่วยก็ต้องมีความรู้เรื่องการแต่งหุ่นเทียน ผู้ที่แต่งหุ่นเทียนนั้น ถือว่าผู้ที่มีความสามารถเฉพาะตัว โดยทางบ้านช่างหล่อคัดมาเป็นอย่างดี งานแกะตกแต่งหุ่นเทียนก็จะมีเอกลักษณ์เฉพาะงานบ้านช่างหล่อ
หุ่นเทียนที่ได้จากบล็อกจะไม่สวยงาม และไม่สามารถนำไปใช้ได้ จะต้องมีการแต่งหุ่นเทียนก่อน โดยการแต่งหุ่นเทียนให้มีร่องลึกสวยงามมีมิติ เหมือนพระองค์จริงให้มีชีวิตชีวา ให้มีดวงตาชัดเจน มีหู ตา จมูก ปาก คอ ร่องจีวร มือ แขน ขา รวมถึงฐานนั่งก็มีการตกแต่ง ทั้งหมด หุ่นเทียนที่ตกแต่งออกมาแล้ว จะไม่เหมือนกันแต่ใกล้เคียงกัน ถ้าช่างคนเดียวกัน การแต่งหุ่นเทียนจะใกล้เคียงกันบางจุด
การแต่งหุ่นเทียนบงบอกถึงเอกลักษณ์ของหุ่นเทียนนั้น ว่าเป็นงานฝีมือใคร ช่างจะนำงานฝีมือตัวเองได้ ใครแต่งสวย แต่งงาม คมชัด ก็ถือว่าเป็นงานฝืมือที่เก่ง การแต่งหุ่นเทียนบางครั้งหุ่นเทียนจะมีการหลุด เทียนหลุดออกจากการแต่ง ต้องนำเทียนมาเติมให้สวยงามเท่าที่จะทำได้ ถ้าหุ่นเทียนไหนที่หักหรือเสียหายมากก็นำมาต้มใหม่
อุปกรณ์ที่ใช้แต่งหุ่นเทียน
อุปกรณ์ที่ช่างได้นำมาแต่หุ่นเทียน จะมีหลายอย่างตามที่ช่างถนัดในการนำมาแต่หุ่นเทียน แต่ส่วนใหญ่ที่นิยมนำมาแต่งหุ่นเทียน คือ
- เหล็กปลายแหลม
- ไม้ปลายแหลม
- ไม้ที่มีรู และเหล็กที่มีรู (ใช้แต่งขอบจอบใหญ่เท่านั้น)
เหล็กปลายแหลม คือ เหล็กที่คลายเข็ม หรือมีดปลายแหลม เพื่อนำมาแต่งหุ่นเทียนในส่วนการเก็บรอยต่อ ตรงแนวประกบ พิมพ์หน้า กับพิมพ์หลัง ตามแนวประกบ และช่วยการเชื่อมรอยต่อของหุ่นเทียนหน้า หลัง ให้เรียบร้อย โดยการใช้เหล็กปลายแหลม ทำให้ร้อน แล้วนำความร้อนจากเหล็กนำมาปาดแต่งตามแนวประกบ ถ้าหุ่นเทียนหน้าหลังไม่เท่ากัน ก็จะใช้เหล็กที่ร้อนขูดปาดให้เนื้อเทียนประสานกันเป็นแนวเดียวกัน ทำให้ตัวหุ่นเทียนไม่หลุดออกจากกัน พระหล่อโบราณพิมพ์นิยม จึงต้องมีร่อรอยการแต่หุ่นเทียนการเชื่อมหุ่นเทียน ร่องรอยการแต่งหุ่นเทียนถูกความร้อนจะให้เข้าใจได้เลยว่าเป็นพระที่มีการแต่งหุ่นเทียนมา ถ้านำพระแต่งหุ่นไปถอดพิมพ์ ร่อยรอยการแต่ง การขูด การปาดหุ่นเทียนจะหายไป และไม่ชัดเจน
ไม้ปลายแหลม คือ ไม้ที่นำมาทำให้มีปลายแหลมเหมือนเหล็กปลายแหลม ไม้ปลายแหลมนี้ช่างจะนำมามาแต่งเห็นเทียนโดยการปาด ขูด ในหุ่นเทียน โดยไม่ใช้ความร้อน ไม้ที่นิยมนำมาใช้ในงานคือไม้เสนียด (ไม้ที่พระนิยมทำเป็นไม้จิ้มฟัน แปลงฟัน) เพราะไม้เสนียดทางช่างที่แต่งหุ่นจะถือเป็นไม้มงคล แต่งหุ่นแต่ละครั้งแสดงให้ถึงการขับไล่สิ่งไม่ดีออกจากองค์พระ หรือหุ่นเทียน ขับไล่เสนียดจันไร ออกไปเหลือแต่สิ่งดีๆ เข้าใปสู่องค์พระ หรือหุ่นเทียน ช่างที่นำไม้เสนียดมาแต่ง จะใช้ในการแต่ง ตรงดวงตา หู จมูก ปก คอ ร่องจีวร หน้า หลัง ทำให้ร่องคมชัด มีมิติ เหมือนมีชีวิต เหมือนของจริงที่สุด ที่สำคัญตรงแข้ง ขา เท้า ก็จะชัดเจน ถ้าช่างฝีมือเก่งจะแกะละเอียดมาก เท่าที่จะทำได้มากที่สุด อีกจุดหนึ่งที่ช่างขาดการตกแต่งไม่ได้คือ ฐานที่นั้่ง จะมีร่องรอยการปาดชัดเจน ฐานจะออกมาสวยงาม หรือนิยมเรียกว่า ฐานเขียง งานที่ออกมาจะแสดงให้ถึงงานฝีมือช่างที่ทำ พระทุกองค์จะแยกได้ว่าพระองค์ไหนช่างคนไหนทำ
ไม้ที่มีรูตรงกลาง และเหล็กที่มีรูตรงกลาง คือ ไม้ไผ่ขนาดเล็กที่มีรู หรือไม้ที่สร้างขึ้นมาคล้ายไม้ไผ่ และบางช่างก็นำเหล็กมาเจาะรูให้มีรู้ คล้ายรูไม้ไผ่ ใช้สำหรับการตกแต่งหุ่นเทียนขอบแม่พิมพ์จอบใหญ่ ขอบรอบองค์พระทำให้เกิดเป็นจุดสวยงาม ไม่เรียบเหมือนพิมพ์จอบเล็ก ช่างบ้านช่างหล่อ ทำขึ้นมาแสดงให้เห็นมิติสวยงามมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้มีศรัทธาบูชาได้รับความสวยงาม มูลค่าก็สูงขึ้นตามไปด้วย
การเข้าเบ้าหุ่นเทียน
ช่างที่ได้นำหุ่นเทียนที่ตกแต่งไว้แล้ว ที่สวยงามสมบูรณ์ นำเข้ามาใส่ดินอ่อน ที่ละเอียดที่สุด และน้ำมูลวัว ที่ละเอียดที่สุด
ดินอ่อน คือ ดินที่หามาได้ที่ละเอียดที่สุด โดยนำมาตำ แล้วแยกเศษที่ไม่ต้องการออกจากดิน และยกดินที่แข็ง เม็ดใหญ่ ที่ไม่ต้องการออก โดยช่างจะนำดินที่ได้มากรอง เสร็จแล้วใส่น้ำในดินให้มากที่สุด เพื่อแยกเศษต่างๆ ที่ไม่ต้องการออกจากดิน เศษต่างๆที่ติดมากับดินจะลอยตัวอยู่บนน้ำแล้วช่างจะเทเศษที่ไม่ต้องการออก จนสะอาด แล้วทิ้งน้ำกับดินไว้ จนกว่าน้ำข้างบนใส่สะอาด แล้วค่อยเทน้ำทิ้ง เหลือแต่ดินที่ตกตะกอน แล้วนำดินที่อยู่บนสุดของตะกอนดิน ดินจะละเอียดมากที่สุด เพราะตกตะกอนช้าที่สุด พอได้ดินละเอียดแล้วก็เตรียมไว้ผสมกับมูลวัว
น้ำมูลวัว คือ นำขึ้วัว มาผสมกับน้ำ ทำเหมือนกันกับดินอ่อนทุกประการ ต้องแยกเศษต่างๆ ที่ไม่ต้องการออก และนำมูลวัวที่อะเอียดที่สุดมาใช้งานการทำเบ้า
ช่างจะนำดินละเอียดผสมกับมูลวัวที่ละเอียดมาทากับหุ่นเทียนที่ได้ ประโยชน์คือจะแข็งตัวเร็วและแข็งแรง (เหมือนปูนซีเมนต์ หรือดินสือฟองทำแบบ) พอแห้งได้ที่จึงนำดินเหนียวมาครอบรอบนอกอีกชั้นให้แข็งแรงยิ่งขึ้น เพื่อนำไปเผาแล้วจะได้ไม่แตก
การสร้างพระทางบ้านช่างหล่อจะไม่เท ทีละองค์เพราะจะทำให้ช้า ได้ปริมาณน้อย ทางบ้านช่างหล่อจึงคิดการสร้างแบบเป็นช่อ โดยนำองค์พระแต่ละองค์ แล้วมาติดชนวนให้เป็นช่อให้กับองค์พระทำเป็นช่อ เพราะจะได้หลายองค์ ส่วนใหญ่ที่ทำจะทำทีละ 10 องค์ เพื่อจะได้นับจำนวนได้ง่าย ในการสร้างแต่ละครั้ง ช่อที่สร้างจะมี บนสุด1 องค์ ชั้นที่ 2 มี 3 องค์ ชั้นที่3 มี 3 องค์ ชั้นที่ 4 มี 3 องค์ พอช่วงหลังๆ ทางช่างก็ทำช่อหนึ่ง มีจำนวนแล้วแต่ทางช่างจะทำให้เหมาะสม บางช่างก็คือเลข 9 เป็นมงคล มี 9 องค์ บางที 1 ช่อมี 16 องค์ และมี 1 ช่อมี 32 องค์ก็มีแล้วแต่ช่างที่มีความชำนาญในการจัดสร้าง ที่นิยมทำทีละเยอะ คือจอบเล็ก จอบใหญ่ เป็นต้น
การสร้างเบ้าหุ่นเพื่อเทโลหะ
การที่จะได้เบ้าหุ่นเพื่อใช้เทโลหะนั้น ทางบ้านช่างหล่อจะนำเบ้าหุ่นเทียนที่มีหุ่นเทียนอยู่ภายใน นำไปเผาไฟตามความร้อนที่มี ณ เวลานั้น พอดินที่พอกสุกแล้วเทียนที่อยู่ภายในจะละลายออกมา (หรือเทออกมา) จะได้เบ้าหุ่นเทียน ที่ไว้ใช้เทโลหะต่อไป รูปเบ้าภายในจึงทำให้พระที่ออกมาพิมพ์บางจุดจะเสียหาย ไม่เหมือนตอนตกแต่งหุ่นเทียน พอเทียนไหลออกหมดก็จัดเตรียมไว้เพื่อจะเทโลหะเข้าไปแทนที่หุ่นเทียน เป็นการต่อไป
โลหะที่นำมาใช้ในการเทหลวงพ่อเงินพิมพ์ขี้ตา
โลหะที่ได้นำมานั้น โลหะหลักที่ได้มาจากโลหะที่เหลือจากการสร้างพระองค์ใหญ่ในวัดบางคลานเป็นพื้นฐาน รวมถึงโลหะที่ได้จากเครื่องใช้ เครื่องประดับ และโลหะที่ได้จากธรรมชาติที่ยังไม่คัดแยกโลหะแต่เป็นส่วนน้อย พระหล่อโบราณบ้านช่างหล่อ จึงเห็นได้ว่าโลหะจะมีหลากหลายประเภท หลากหลายส่วนผสม แต่พระหล่อโบราณบ้านช่างหล่อ จะมีโลหะเอกลักษณ์ของแต่ละองค์ องค์ที่เป็นทองเหลือง ที่สวยงาม จะเป็นโลหะที่ได้จากโลหะที่เหลือจากการสร้างองค์พระใหญ่ และของใช้ เครื่องประดับ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนองค์ไหนที่ได้จากโลหะธรรมชาติ ก็จะออกมาไม่มีมาตรฐานโลหะ แต่ที่สังเกตุได้ทุกองค์ก็จะเห็นการละลายของโลหะที่ไม่สมบูรณ์ คือ โลหะต่างชนิดกันอุหภูมิความร้อนการหลอมละลายจะต่างกัน การประสานของโลหะจะอยู่ที่ความร้อน ถ้าโลหะที่ใช้การหลอมความร้อนสูง จะเห็นในพระหล่อโบราณ บ้านช่างหล่อ ที่ไม่ละลายแบบสมบูรณ์ ยุกแรกการให้ความร้อนของช่างจะควบคุมความร้อนไม่สม่ำเสมอ ร้อนบาง ไม่ร้อนบ้าง ทำให้โลหะไม่ถึงจุดละลายของโลหะบางชนิด ทำให้เราสามารถมองเห็นในโลหะมีร่อยรอยให้สังเกตุ เช่น มีลายตามุ้ง ลายตะข่าย เป็นต้น บางองค์จะได้สีแตกต่างกัน ในแต่ละส่วนขององค์พระไม่เหมือนกัน โลหะที่หนักจะไหลลงไปที่ส่วนหัว โลหะเบาก็จะอยู่บนฐาน เป็นต้น
การเก็บรายละเอียดการตกแต่งองค์พระ
การเก็บรายละเอียด การตกแต่งองค์พระจะตกแต่งน้อยมากเพราะงานบ้านช่างหล่อ จะมีความชำนาญด้านการหล่อโบราณในยุคนั้น หลังจาการเทโลหะ การทุบเบ้าดินออกเพื่อนำช่อพระมาตกแต่ง นำมาตัดช่อ แล้วนำตะไบมาตกแต่ง การตกแต่งในยุคนั้น ร่องตะไบจะใหญ่ บางท่านที่มีฐานในการบูชาก็จะจัดเช้าบูชาเป็นช่อเลยก็มี แค่ตกแต่ฐานช่อให้ตั้งได้ก็เป็นอันเสร็จ ในปัจจุบันจะมีพบเห็นมีการตัดช่อใหม่ ใช้ตะไบรุ่นใหม่ แต่องค์พระเก่า การจะดูแต่รอยตะไบก็ไม่ได้ต้องดูเนื้อโลหะประกอบด้วย
พระที่เทหล่อโบราณจากบ้านช่างหล่อ เม็ดเดือดจะมีทุกองค์เพราะความร้อนไม่คงที่ แต่จะมีไว้ให้เห็นก็ต่อเมื่อช่างไม่ตกแต่งหรือดัดออก ตะไบเข้าไม่ถึง จะได้สังเหตุเห็นเม็ดเดือนชัดเจน แต่ส่วนใหญ่จะตัดตกแต่งออก ส่วน่เนื้อเกินของโลหะ ทางช่างก็จะใช้ตะไบตกแต่งออกให้ได้พิมพ์ที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น เนื้อพระส่่วนใหญ่ที่พบจะเกิดที่ใบหู ทางช่างนะนำตะไบตกแต่งเซาะตรงใบหูบนล่างเพื่อให้เห็นเป็นใบหู บางองค์ก็ตกแต่งน้อย ตามงานฝีมือช่าง ส่วนที่เกินของโลหะที่ออกมาเกินกว่าหุ่นเทียนทางช่างก็จะไช้ตะไบเก็บให้สวยงามพร้อมกับลบคมของโลหะออก เพื่อป้องกันอันตรายตอนจับ หรือพกพา แต่เสร็จแล้วบางองค์ก็มีการเคลือบป้องกันไมไ่ด้เกิดสนิมก็มี โดยใช้สารเคมีจากธรรมชาติ เช่นใบไม้ ก้านไม้ นำมาคัดถูกให้ร่องรอยคมเล็กๆหายไป ทำให้มีการคัดโลหะไปในตัว และช่วยป้องกันสนิมได้บางส่วน
การให้เช่าบูชาหลวงพ่อเงิน
มีการเล่าขานกันมาว่า จะมีการสร้างมาเรื่อยๆ ตามโหละ ตามเวลาที่สะดวก ตามเวลาที่ดี จะมีการสร้างบางวาระ ก็มีงานฝีมือชาวบ้านด้วย การสร้างพระจะเก็บไว้และแจกจ่ายมาผู้จิตศรัทธา ถ้ามีจำนวนมากก็จะนำไปให้บูชา ช่วงงานประเพณีประจำปีบ้าง เช่น งานบุญวัด งานบุญแข่งเรือ งานพิธีสำคัญต่างๆ เป็นต้น ช่วงยุกแรกๆนั้น มีจำนวนน้อยมาก พอมาช่วงหลัง เริ่มมีความต้องการมาก ก็ทำขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ยุคแรกนั้น มีจำนวนไม่มาก เพราะการบูชาไม่ค่อยนิยม บูชาเสร็จจะนำไปไว้ที่หิ้งพระ ไม่นิยมนำมาติดตัว พระส่วนใหญ่จึงมีแต่ชาวบ้านใกล้เคียง และผู้มีฐานะมาบูชาเก็บไว้เป็นที่ระลึก เพื่อช่วยบริจากปัจจัยสร้างวัด
พระคาถาบูชาหลวงพ่อเงิน
ให้ตั้ง นะโมฯ 3 จบ แล้วสำรวมจิตกล่าวคาถา
สิทธิพุทธัง กิจจังมะมะ ผู้คนไหลมา นะชาลีติ สิทธิธัมมัง จิตตังมะมะ ข้าวของไหลมา นะชาลีติ สิทธิสังฆัง จิตตังมะมะ เงินทองไหลมา นะชาลีติ
ตำนาน เล่าขาน
หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ แห่งวัดบางคลาน ท่านสามารถรู้วาระจิตผู้มาเยือนด้วยญาณวิเศษได้อย่างมหัศจรรย์ และยังเป็นหมอเชี่ยวชาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้แก่ชาวบ้านได้อย่างชะงัด อีกด้วย เคยมีผู้ไปลองดีกับท่าน ท่านก็แอ่นอกให้ยิง แต่กระสุนไม่ยอมออกจากลำกล้อง ความศักดิ์สิทธิ์เยี่ยงอัจฉริยะของ หลวงพ่อเงิน บางคลาน นับว่าร่ำลือกันไปไกลมาก จนถึงขนาดเสด็จในกรม “กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์” ก็ยังเสด็จไปฝากตัวเป็นศิษย์ด้วย
หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น มีผู้คนมาให้ท่านช่วยรดน้ำมนต์ให้ไม่ขาดสาย ลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงินวัดบางคลานที่มีชื่อเสียงโด่งดังต่อมาก็มีหลายท่าน เช่น หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ที่มีชื่อเสียงในด้านตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อน้อย วัดคงคาราม ผู้สร้างตะกรุดหนังปลากระเบน และตะกรุดหนังอีเก้ง ปลัดชุ่ม วัดท้ายน้ำ หลวงพ่อหอม วัดหลวง หลวงพ่อนวล วัดหาดมูลกระบือ หลวงพ่อฟุ้ง วัดปากน้ำ หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย หลวงพ่อไป๋ วัดท่าหลวงพล ผู้สร้างเหรียญหล่อหลวงพ่อเพชรจำลอง หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ เป็นต้น นอกจากนี้ศิษย์ฆราวาสก็คือเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์