เหรียญพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่น9 งามเอก เนื้อเงิน ปี2513 วัดอุดมสมพร สกลนคร
เหรียญอาจารย์ฝั้น รุ่น 9 ถือเป็นเหรียญยอดนิยมมากที่สุดอีกรุ่นหนึ่ง แม้จะมีการสร้างเหรียญอาจารย์ฝั้นจำนวนมากถึง 120 รุ่น เหรียญรุ่น 9 เป็นอีกรุ่นที่ได้รับความนิยมเล่นหาสะสมอย่างสูง ด้วยจำนวนการสร้างที่มากพอกับการหมุนเวียนเปลี่ยนมืออย่างแพร่หลาย มีเนื้อเหรียญให้เลือกสะสมด้วยระดับราคาต่างๆ
สารบัญ
- ประวัติอาจารย์ฝั้น
- ประวัติการศึกษา
- การอุปสมบท
- มรณะภาพ
- คำสอน
- การสร้างเหรียญรุ่น 9
- เนื้อโลหะที่นำมาใช้
- การแกะบล็อกเหรียญ
- สรุปการจัดสร้างเหรียญ รุ่น9
ประวัติอาจารย์ฝั้น อาจาโร
เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ปีกุน ตรงกับวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2442 ที่บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรคนที่ 5 ของเจ้าไชยกุมาร (เม้า) ในตระกูล “สุวรรณรงค์” อดีตเจ้าเมืองพรรณานิคม มารดาของท่านชื่อ นางนุ้ย พระอาจารย์ฝั้น ครั้งวัยเยาว์ มีความประพฤติเรียบร้อย นิสัยโอบอ้อมอารี ขยันหมั่นเพียร อดทนต่ออุปสรรค ช่วยเหลือกิจการงานของบิดา มารดา โดยไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก
ประวัติการศึกษา
การอุปสมบท
ครั้น อายุได้ 20 ปี ท่านได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ณ วัดสิทธิบังคม ตำบลไร่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร โดยมีพระครูป้อง เป็นอุปัชฌาย์ และเป็นผู้สอน การเจริญกรรมฐาน ตลอดพรรษาแรก ออกพรรษาแล้ว ท่านกลับมาพำนัก ที่วัดโพนทอง ซึ่งมีพระครูสกลสมณกิจ เป็นเจ้าอาวาส และวิปัสสนาจารย์ นำพระภิกษุฝั้น อาจาโร ออกธุดงคและเจริญภาวนา ในช่วงชีวิตบรรพชิตของหลวงปู่ ท่านได้ธุดงค์ยังสถานที่ต่างๆ เพื่อเผยแผ่พระธรรม คำสอน จนกระทั่งเป็นที่นับถือศรัทธาของญาติโยมจำนวนมาก และได้รับการได้รับการยกย่องเป็น “อริยสงฆ์” องค์หนึ่ง ท่านมีศิษย์ที่เป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบหลายรูป เช่น พระโพธิธรรมาจารย์เถร (สุวัจน์ สุวโจ), สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อัมพร อมฺพโร) เป็นต้น
การมรณภาพ
4 ม.ค. 2520 ณ วัดป่าอุดมสมพร ซึ่งถือเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญของท่าน สิริรวมอายุได้ 78 ปี 58 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ไปทรงสรงน้ำศพ พระราชทานหีบทองประกอบศพ จนถึงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2521 ได้เสด็จพระราชทานเพลิงศพเป็นการส่วนพระองค์ ในบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพของพระอาจารย์ฝั้นได้มีการสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร สูง 27.9 เมตร ลักษณะเป็นเจดีย์ปลายแหลม ฐานกลม ขึ้นรูปด้วยกลีบบัวหุ้มฐานสามชั้น แต่ละกลีบบัวตกแต่งด้วยกระเบื้องเป็นรูปพระอาจารย์ต่าง ๆ ภายในเจดีย์มีรูปปั้นพระอาจารย์ฝั้นถือไม้เท้าขนาดเท่าองค์จริง มีตู้กระจกบรรจุเครื่องอัฐบริขารของท่าน
คำสอน
” ทุกคนจะต้องเข้ามหายุทธสงครามสักวันหนึ่ง คือการ ต่อสู้กับมัจจุราช เมื่อถึงเวลานั้นแต่ละคนจะต้องสู้เพื่อ ตนเอง และต้องสู้โดยลำพัง ผู้ที่สู้ได้ดีก็จะไปดี คือไปสู่ สุคติ ผู้ที่เพลี่ยงพล้ำก็จะไปร้าย คือไปสู่ทุคติ อาวุธที่ใช้ ต่อสู้มีเพียงสิ่งเดียว คือ “สติ” ซึ่งจะสร้างสมได้ด้วยการ เจริญภาวนาเท่านั้น ”
” บุญกุศลนั้นก็ไม่ใช่อื่นไกล ก็ได้แก่ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมีนี้แหละทาน ก็รู้อยู่แล้ว คือการสละ หรือ การละการวางผู้ใดละมาก วางได้มาก ก็เป็นผลานิสงส์มากผู้ใดวางได้น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อย ละได้น้อย ก็มีผลานิสงส์น้อยมัจฉริยะความตระหนี่เหนียวแน่น นี้หละ คือความโลภ ต้องสละเสีย ให้เป็นผู้บริจาค ก็บริจาคทรัพย์สมบัติ วัตถุทั้งหลายเหล่านั้นหละ ไม่ใช่อื่นไกลแปลว่า ทะนุบำรุงตน เหมือน พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ท่านจะสำเร็จมรรคผล ท่านก็ได้สร้างบารมีมา คือทานบารมีอันนี้ นี่ให้เข้าใจไว้ ทานเป็นเครื่องสะเบียงของเรา เมื่อเราได้ทำไว้พอแล้วเราจะเดินทางไกล เราก็ไม่ต้องกลัวอดกลัวอยาก กลัวทุกข์กลัวยากของเก่าเราได้ทำมาไว้ ถ้าอะไรเราไม่ได้ทำไว้ อยากได้ มันก็ไม่ได้ ถ้าได้ทำไว้แล้ว สร้างไว้แล้ว ไม่อยากได้ มันก็ได้ นี่แหละทานบารมี เหตุนี้ ให้พากันเข้าใจ ”
” ศีลบารมีล่ะ คนเราเพียงแต่รับศีลไม่ได้รักษาศีล เข้าใจว่า ศีลนั้นเป็นของพระถ้าพระไม่ให้แล้ว ก็ว่าเราไม่ได้ ศีลอย่างนี้ เป็นสีลัพพตปรามาส เพียงแต่ลูบคลำศีลแท้ที่จริงนั้น ศีลของเรา เกิดมาพร้อมกับเรา ศีลห้าบริบูรณ์ตั้งแต่เกิดขาสอง แขนสอง ศีรษะหนึ่ง อันนี้คือตัวศีลห้า เราได้จากมารดาของเรา เกิดมาก็มีพร้อมแล้ว เมื่อเรามีศีลห้าบริสุทธิ์อย่างนี้ ก็ให้เรารักษาอันนี้หละ รักษากายของเรา รักษาวาจา รักษาใจให้เรียบร้อยอย่าไปกระทำโทษน้อยใหญ่ ทางกาย ทางวาจา ทางใจของเรา โทษห้าคืออะไร คือ ปาณาติปาตา ท่านให้งดเว้น อย่าไปทำ นั่นเป็นโทษ ไม่ใช่ศีลอทินนาทานา นั่นก็เป็นโทษ ไม่ใช่ศีลกาเมสุมิจฉาจารา นั่นก็ไม่ใช่ศีล เป็นแต่โทษมุสาวาทา ท่านให้งดเว้น มันเป็นโทษ ไม่ใช่ศีลสุราเมรยมชฺชฯ อันนี้ก็เป็นแต่โทษถ้าเราไม่ได้ทำความผิดห้าอย่างนี้ อยู่ที่ไหนเราก็มีศีล อยู่ในป่าในดง ก็มีศีล อยู่ในรถในรา เราก็มีศีลให้เข้าใจศีลตามนี้ ที่คอยจะรับจากพระ นั่นไม่ใช่ ท่านก็บอกว่า อย่าไปทำ ห้าอย่างนั้นให้ละเว้น เมื่อเราละเว้นแล้ว อยู่ที่ไหนก็มีศีล เราก็เป็นคนบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ศีลห้า อย่างนั้น เราไม่อยากได้ ไม่ปรารถนาเหตุฉันใด จึงว่าไม่อยากได้ พิจารณาดูซี่ สมมติว่ามีคนมาฆ่า หรือ มาฆ่าพี่ฆ่าน้อง ญาติพงษ์ ของเรา เราดีใจไหมล่ะ เราไปฆ่าเขาล่ะ เขาดีใจไหม พิจารณาดูซี่ เราไม่ต้องการอย่างนั้นไม่ใช่เหรอถ้าเราไม่ทำอย่างนั้นแล้ว โทษของเรา ก็ไม่มี เกิดมาอายุก็ยืนนาน ไม่ตายแต่น้อย แต่หนุมก็เพราะเราไม่ได้ทำปาณาติบาตไว้ ในหลายภพหลายชาติแม้ในชาตินี้ก็เหมือนกัน เราฟังธรรม ก็ฟังในชาตินี้ แล้วก็ปฏิบัติในปัจจุบันนี้ เราไม่ต้องคำนึงถึงอดีตอนาคต เรากำหนดให้รู้เดี๋ยวนี้ เรานั่งอยู่นี่ ก็เป็นศีลอยู่ นี่ข้อสำคัญ “
การสร้างเหรียญรุ่น 9
เหรียญอาจารย์ฝั้น รุ่น 9 ถือเป็นเหรียญยอดนิยมมากที่สุดอีกรุ่นหนึ่ง แม้จะมีการสร้างเหรียญอาจารย์ฝั้นจำนวนมากถึง 120 รุ่น เหรียญรุ่น 9 เป็นอีกรุ่นที่ได้รับความนิยมเล่นหาสะสมอย่างสูง ด้วยจำนวนการสร้างที่มากพอกับการหมุนเวียนเปลี่ยนมืออย่างแพร่หลาย มีเนื้อเหรียญให้เลือกสะสมด้วยระดับราคาต่างๆ
เหรียญอาจารย์ฝั้น รุ่น 9 สร้างปี 2513 น.อ.เกษม งามเอก ได้ออกแบบแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ เป็นเหรียญกึ่งทรงกลมกึ่งรูปไข่ ด้านหน้าตรงกลางมีรูปอาจารย์ฝั้นแบบหันข้างครึ่งองค์ มีข้อความ “พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร” มีคำว่า “งามเอก” แบบกลับหัวซ้อนอยู่ที่ใต้ไหล่ซ้าย(ติดขอบเหรียญ) ด้านหลังทั้งสองข้างเหรียญมีคาถา “พญายูงทอง” ตรงกลางเป็นเครื่องอัฐบริขาร ด้านใต้มีคาถา “นะโมพุทธายะ” และชื่อวัด “อุดมสมพร
โลหะที่นำมาใช้ในการสร้างเหรียญ
เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น9 อัลปาก้า สร้างปี 2513 วัดป่าอุดมสมพร เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น9 ถือว่าเป็นรุ่นยอดนิยมที่สุดอีกรุ่นหนึ่ง ในชุดเหรียญของหลวงปู่
เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น9 สร้างเมื่อปี 2513 โดยนาวาเอก เกษม งามเอก
ได้ออกแบบแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ เป็นเหรียญกึ่งทรงกลมกึ่งรูปไข่ ด้านหน้าตรงกลางมีรูปอาจารย์ฝั้นแบบหันข้างครึ่งองค์ “มีข้อความ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และมีคำว่า งามเอก แบบกลับหัวซ้อนอยู่ที่ใต้ไหล่ซ้ายติดขอบเหรียญ”
ด้านหลังทั้งสองข้างเหรียญมีพระคาถา พญายูงทอง ตรงกลาง เป็นเครื่องอัฐบริขาร ด้านใต้มีคาถา นะโมพุทธายะ และชื่อวัดป่าอุดมสมพร
เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น9
1 มีเนื้อเงินoอก
2 มีเนื้อเงินไทย (แช่น้ำมนต์)
3 ฝาบาตร
4 ฝาบาตรกะไหล่ทอง
5 ทองแดงรมดำ
6 ทองแดงกะไหล่เงิน
7 ทองแดงกะไหล่ทอง
การแกะบล็อกเหรียญ รุ่น9
บล็อก เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น9 แบ่งหลักๆ ได้ เป็น 3 บล็อก ได้แก่
1 เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น9 บล็อกอัลปาก้า หรือ บล็อกลึก ใช้ปั้มเหรียญเนื้ออัลปาก้า เนื้อเงิน บล็อกนี้จะคมลึกกว่าบล็อกอื่นๆ และที่ชัดเจนจะเป็นบริเวณเส้นขอบไหล่ตัดตรง มีความลึกคมชัดกว่าทุกบล็อก
2 เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น9 บล็อกทองแดง ใช้ปั้มเนื้อทองแดง บล็อกนี้ด้านหน้าจะคมชัดน้อยกว่าอัลปาก้าเพียงเล็กน้อยเส้นขอบไหล่จะตื้นกว่าอัลปาก้า แต่ก็ยังสูงกว่าฝาบาตร
3 เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น9 บล็อกฝาบาตร ใช้ปั้มเนื้อฝาบาตร บล็อคนี้จะเป็นพัฒนาการที่มีรายละเอียดเพิ่มเติมเข้ามา โดยเฉพาะพิมพ์นิยม #ที่จะมีเส้นสายฝนหลายเส้นพาดผ่านคำว่าฝั้นและ อา (อาจาโร) ซึ่งจะนิยมกว่าไม่มี(ในเนื้อฝาบาตรด้วยกัน) และด้านหลังจะมีเส้นพุ่งขึ้นจากสายบาตรบริเวณกาน้ำ และขอบไหล่จะตื้นกว่า2บล็อกที่กล่าวมาอีกรุ่นที่ผู้คนรู้จัก เหรียญรุ่นนี้สร้างปี 2513 น.อ. เกษม งามเอก
เป็นผู้ออกแบบแม่พิมพ์ มีคำว่า งามเอก พิมพ์ซ้อนอยู่ใต้ไหล่ซ้าย
ด้านหลังมีคาถา พญายุงทอง ซ้ายและขวา นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา
ตรงกลางเป็นอัฐบริขาร ใต้ลงมาเป็นพระคาถา นะโมพุทธายะ และชื่อวัด อุดมสมพร
เหรียญอาจารย์ฝั้น รุ่น9 มี 5 เนื้อ 3 บล็อค
บล็อคอาปาก้า ปั้มบล็อกอาปาก้า,เงิน,ทองคำ
บล็อคฝาบาตร ใช้ปั้มเหรียญบล็อคฝาบาตร
บล็อคทองแดง ใช้ปั้มเหรียญบล็อคทองแดง
มีปั้มสลับบล็อคบ้างแต่มีไม่มาก ระหว่าง บล็อคอาปาก้า และบล็อคทองแดง
บทสรุปการสร้างเหรียญ รุ่น9
บล็อก เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น9 แบ่งหลักๆ ได้ เป็น 3 บล็อก
ได้แก่
1 เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น9 บล็อกอัลปาก้า หรือ บล็อกลึก ใช้ปั้มเหรียญเนื้ออัลปาก้า เนื้อเงิน บล็อกนี้จะคมลึกกว่าบล็อกอื่นๆ และที่ชัดเจนจะเป็นบริเวณเส้นขอบไหล่ตัดตรง มีความลึกคมชัดกว่าทุกบล็อก
2 เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น9 บล็อกทองแดง ใช้ปั้มเนื้อทองแดง บล็อกนี้ด้านหน้าจะคมชัดน้อยกว่าอัลปาก้าเพียงเล็กน้อยเส้นขอบไหล่จะตื้นกว่าอัลปาก้า แต่ก็ยังสูงกว่าฝาบาตร
3 เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น9 บล็อกฝาบาตร ใช้ปั้มเนื้อฝาบาตร บล็อคนี้จะเป็นพัฒนาการที่มีรายละเอียดเพิ่มเติมเข้ามา
โดยเฉพาะพิมพ์นิยม #ที่จะมีเส้นสายฝนหลายเส้นพาดผ่านคำว่าฝั้นและ อา (อาจาโร) ซึ่งจะนิยมกว่าไม่มี(ในเนื้อฝาบาตรด้วยกัน) และด้านหลังจะมีเส้นพุ่งขึ้นจากสายบาตรบริเวณกาน้ำ และขอบไหล่จะตื้นกว่า2บล็อกที่กล่าวมา
อีกรุ่นที่ผู้คนรู้จัก เหรียญรุ่นนี้สร้างปี 2513 น.อ. เกษม งามเอก
เป็นผู้ออกแบบแม่พิมพ์ มีคำว่า งามเอก พิมพ์ซ้อนอยู่ใต้ไหล่ซ้าย
ด้านหลังมีคาถา พญายุงทอง ซ้ายและขวา นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา
ตรงกลางเป็นอัฐบริขาร ใต้ลงมาเป็นพระคาถา นะโมพุทธายะ และชื่อวัด อุดมสมพร
เหรียญอาจารย์ฝั้น รุ่น9 มี 5 เนื้อ 3 บล็อค
บล็อคอาปาก้า ปั้มบล็อกอาปาก้า,เงิน,ทองคำ
บล็อคฝาบาตร ใช้ปั้มเหรียญบล็อคฝาบาตร
บล็อคทองแดง ใช้ปั้มเหรียญบล็อคทองแดง
มีปั้มสลับบล็อคบ้างแต่มีไม่มาก ระหว่าง บล็อคอาปาก้า และบล็อคทองแดง