พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย

พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย

พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย

พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย

สารบุัญ

  1. ประวัติความเป็นมา
  2. การสร้างพระ
  3. บล็อกแม่พิมพ์
  4. วัสดุส่วนผสมในการสร้างพระ
  5. บรรจุกรุ
  6. ก่อนเปิด
  7. การเปิดกรุ
  8. พุทธคุณ
  9. ที่มาพิมพ์ฐานแซม
  10. คาถาชินบัญชร
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย

ประวัติความเป็นมา

วัดบางขุนพรหม ที่เป็นถิ่นกำเนิดพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในปลายสมัยกรุงธนบุรี เดิมชื่อเรียกว่า “วัดวรามะตาราม” ต่อมาเปลี่ยนชื่อว่า “วัดอำมาตยรส” หรือ “วัดอมฤตรส” แต่ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดบางขุนพรหม” วัดบางขุนพรหมมีพระองค์เจ้าอินทร์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นผู้ดูแลทำนุบำรุง กระทั่งพระองค์เจ้าอินทร์สิ้นชีพิตักษัย ก็มีเสมียนตราด้วง(ต้นตระกูลธนโกเศศ) มาเป็นโยมอุปัฏฐากแทน
ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการตัดถนนวิสุทธิกษัตริย์ผ่านกลางวัด แยกวัดบางขุนพรหมออกเป็น 2 วัด คือ
  1. วัดบางขุนพรหมใน (วัดใหม่อมตรส) ที่ประดิษฐานพระมหาเจดีย์ และพบพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมในกรุ ซึ่งเป็นวัดต้นตำนานพระกรุที่ลือชื่อก็คือ “พระสมเด็จบางขุนพรหม” ที่มีชื่อเสียงขจรขจายเป็นอย่างยิ่ง
  2. วัดบางขุนพรหมนอก (วัดอินทรวิหาร) ตามพระนามพระองค์เจ้าอินทร์ ที่ประดิษฐานพระหลวงพ่อโตยืนองค์ใหญ่
เดิมทีวัดบางขุนพรหม มีผู้อุปถัมภ์อุปการะวัดเป็นกำลังสำคัญก็คือ “พระองค์เจ้าอินทร์” และเป็นผู้ที่สนิทชิดเชื้อกับ “สมเด็จพุฒาจารย์โต” (พรหมรังสี) อริยสงฆ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างยิ่ง พระองค์เจ้าอินทร์ได้สละทรัพย์เพื่อซื้อที่ดินมอบให้แก่วัดบางขุนพรหมเพื่อขยายให้กว้างขวางเป็นจำนวนมากปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างภายในวัดให้สวยงาม ต่อมาเมื่อสิ้นพระองค์เจ้าอินทร์ ผู้มีอุปการะวัดคนต่อมาก็คือ “เสมียนตราด้วง” ต้นตระกูล “ธนโกเศศ” ท่านเป็นผู้ปฏิสังขรณ์ บูรณะวัดบางขุนพรหมหายจากการชำรุดทรุดโทรม หลังจากพระองค์เจ้าอินทร์ได้สิ้นพระชนม์ลง แต่เสมียนตราด้วงผู้นี้ก็เป็นผู้ที่เคารพและศรัทธาต่อสมเด็จพุฒาจารย์โตเป็นอย่างที่สุดถึงขนาดได้สร้างพระองค์ใหญ่ถวายแด่สมเด็จพูฒาจารย์โตก็คือ “พระหลวงพ่อโต” ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดอินทรวิหาร สมเด็จพุฒาจารย์โต มักจะมาจำวัดและเทศนาที่วัดบางขุนพรหมประจำ ทำให้มีความสนิทชิดเชื้อกับเสมียนตราด้วง โยมอุปถัมภ์ วัดบางขุนพรหมเป็นอย่างดี เป็นที่ทราบกันดีว่า เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต ท่านได้เป็นผู้ที่สร้างพระสมเด็จวัดระฆัง สุดยอดของพระเครื่องของเมืองไทย ซึ่งท่านได้สร้างเมื่อปี 2409
ภายหลังจากท่านได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น “สมเด็จพุฒาจารย์” และสิ้นสุดการสร้างเมื่อปี พ.ศ.2413 ท่านได้สร้างพระ “สมเด็จวัดบางขุนพรหม” ซึ่งเป็นพระที่มีชื่อเสียงขจรขจาย ไม่แพ้พระสมเด็จวัดระฆังเลยทีเดียว
ต่อมาในปี พ.ศ. 2413 เสมียนตราด้วงได้อาราธนาปรึกษากับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) วัดระฆังฯ พระเกจิอาจารย์ในยุคสมัยนั้น ที่ตนมีความสนิทคุ้นเคย ว่าอยากจะสร้างพระขึ้นมาเพื่อบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหม เพื่อไว้สืบทอดศาสนาและไว้สำหรับภายภาคหน้าให้คนรุ่นหลัง เมื่อยามบ้านเมืองหรือประชาชนทุกข์ร้อน ก็จะได้นำมาไว้ใช้เพื่อขจัดความทุกข์ร้อน เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตจึงอนุญาตและได้ทำการสร้าง โดยให้นำแม่พิมพ์ของ “หลวงวิจารณ์  เจียรนัย” ซึ่งเป็นแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังมาให้ในการสร้าง และทำให้แม่พิมพ์เพิ่มขึ้นมาใหม่อีก โดยพิมพ์ของหลวงวิจารณ์ เจียรนัย เพราะการสร้างพระเป็นมหากุศลยิ่งใหญ่อย่างหนึ่ง ซึ่งในตอนนั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เริ่มชราภาพ ท่านชอบวัดบางขุนพรหมมาก มักจะเดินทางไปๆ มาๆ ระหว่างวัดระฆังฯ กับวัดบางขุนพรหมเป็นประจํา
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน แก่ปูนเปลือกหอย (สมเด็จวัดระฆังฝากกรุบางขุนพรหม)
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย

การสร้างพระ

การสร้างพระครั้งนี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านเห็นชอบ และยังแนะนํา ว่าถ้าจะสร้างพระให้สร้างเป็นพระเนื้อผง เหมือนที่ท่านเคยสร้างพระวัดระฆังฯ ที่มีชื่อเสียง ซึ่งพระวัดระฆังฯ มีชื่อเสียงเป็นที่เช่าบูชากันตั้งแต่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ยังไม่สิ้น

โดยท่านจะให้ยืมบล็อกที่สร้างพระวัดระฆังฯ ซึ่งเป็นบล็อกที่นิยมมีอยู่ 4 บล็อก ได้แก่

  1. .บล็อกพิมพ์ใหญ่
  2. บล็อกพิมพ์ทรงเจดีย์
  3. บล็อกพิมพ์เกศบัวตูม
  4. บล็อกฐานแซม
  5. บล็อกปรกโพธิ์
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย

บล็อกแม่พิมพ์

การสร้างครั้งนั้นมีความคิดว่าจะสร้างให้ได้มากที่สุด สร้างให้ครบพระธรรมขันธ์ คือ 84,000 องค์ [สันนิษฐานว่าจำนวนที่สร้างจริงคงไม่เกิน 10,000 องค์] เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะนําไปบรรจุในองค์พระเจดีย์ใหญ่ เพื่อที่ต่อไปภายหน้า หากประเทศชาติวิบัติ จนประชาชนเดือดร้อน ก็สามารถนําพระที่สร้างขึ้นออกมาใช้ได้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มอบมวลสาร ผงวิเศษหลายชนิดที่ท่านปลุกเสกจากการร่ำเรียนตั้งแต่เป็นสามเณร ทั้งแนะนําให้ใช้เนื้อผงปูน เปลือกหอย หรือปูนหิน ผสมผสานสร้างพระขึ้นมา

หากการสร้างพระให้ครบ 84,000 องค์ บล็อกแค่ 4 บล็อก คงไม่พอ เสมียนตราด้วง จึงให้ช่างสิบหมู่ ที่เคยแกะบล็อกให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ทําบล็อกเพิ่มขึ้น โดยให้เลียนแบบพิมพ์เก่าของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่สร้างในคราวนั้นจึงมีทั้งหมด 12 พิมพ์ ประกอบด้วย

  1. พิมพ์ใหญ่
  2. พิมพ์ทรงเจดีย์
  3. พิมพ์เส้นด้าย
  4. พิมพ์เกศบัวตูม
  5. พิมพ์ฐานแซม พิมพ์ฐานคู่
  6. พิมพ์สังฆาฏิหูช้าง
  7. พิมพ์สังฆาฏิไม่มีหู
  8. พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร
  9. พิมพ์อกโผล่
  10. พิมพ์ปรกโพธิ์
  11. พิมพ์ไสยาสน์
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย

วัสดุส่วนผสมในการสร้างพระ

เสมียนตราด้วงได้นำวัสดุประกอบการสร้าง คือ
  1. ปูนขาว
  2. ผง
  3. กล้วย
  4. ข้าวสุก
  5. เกษรดอกไม้
  6. งา
  7. น้ำมันงา น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น
ตลอดจนวัสดุในการผสมให้เป็นเนื้อพร้อมที่จะทำพระ
ส่วนเจ้าประคุณสมเด็จได้มอบผงวิเศษอันมีชื่อเสียงของท่านมาผสม ผงวิเศษนั้นก็คือ ผง 5 ชนิดที่ใช้ผสมกับเนื้อพระที่ใช้ทำพระสมเด็จวัดระฆังอันลือชื่อ ประกอบด้วย
  1. ผงอิธะเจ
  2. ผงปถมัง
  3. ผงตรีนิสิงเห
  4. ผงมหาราช
  5. ผงพุทธคุณ
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม กรุเก่า หูยาน แก่ปูนเปลือกหอย
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม กรุเก่า หูยาน แก่ปูนเปลือกหอย
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม กรุเก่า หูยาน แก่ปูนเปลือกหอย
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม กรุเก่า หูยาน แก่ปูนเปลือกหอย

บรรจุกรุ

เมื่อนำมาผสมเสร็จก็นำไปกดที่แม่พิมพ์ เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต ก็เข้าทำพิธีปลุกเสก ในครั้งนั้น สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้นำพระวัดระฆังที่ท่านสร้างไว้ก่อน จำนวนหนึ่งประมาณ สี่บาตรพระ เข้าไปร่วมบรรจุไว้ในเจดีย์ด้วย

พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย

ก่อนเปิดกรุ

ในปี พ.ศ.2425 ได้มีคนลอบนำพระออกมาจากเจดีย์ เพราะกิติศัพท์ของพระสมเด็จ ใช้รักษาโรคห่า (อหิวาตกโรค) ได้ โดยใช้วิธีตกหรือการตกพระ คือการนำลำไม้ไผ่ยาว ๆ ส่วนปลายข้างหนึ่งของไม้ไผ่นำดินเหนียวมาพอกให้เป็นตุ่ม แล้วสอดเข้าไปในช่องอากาศขององค์พระเจดีย์ให้ปลายไม้ไผ่มีดินเหนียวพอกกระทบกับพื้น เพื่อจะได้พระติดขึ้นมา ทำให้ได้พระไปจำนวนหนึ่ง

ในปี พ.ศ.2436 เกิดสงครามไทยกับฝรั่งเศส ทำให้ประชาชนพากันไปตกพระอีก เพื่อจะได้พระมาไว้ป้องกันตัว คราวนี้ได้พระไปจำนวนมากพอสมควร

ในปี พ.ศ.2450 ก็มีการตกพระอีก พระที่ทำการตกทั้งสามครั้งนั้น จะได้พระที่อยู่บน ๆ ไม่โดนดินหรือเศษฝุ่นในเจดีย์ทักถม จึงเป็นพระที่มีความสวยงามชัดเจน มีคราบกรุจับน้อย ซึ่งมักจะเรียกกันว่า “พระกรุเก่า”

พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม กรุเก่า หูยาน แก่ปูนเปลือกหอย
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม กรุเก่า หูยาน แก่ปูนเปลือกหอย
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม กรุเก่า หูยาน แก่ปูนเปลือกหอย
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม กรุเก่า หูยาน แก่ปูนเปลือกหอย

การเปิดกรุ

ในปี พ.ศ.2500 ได้มีคนร้ายกลุ่มหนึ่งคิดจะได้พระทางลัด จึงได้ลอบไปเจาะองค์พระเจดีย์เสียเลยและได้พระจำนวนมาก ทำให้กรรมการของวัดบางขุนพรหมได้ประชุมกัน แล้วพร้อมตกลงที่จะเปิดกรุพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม เพื่อที่จะนำออกจำหน่ายให้ประชาชน เพื่อนำเงินมาบูรณะวัด จึงมีการเปิดกรุเป็นทางการ โดยได้ พล.อ.ประภาส จุรุเสถียร เป็นประธานในการเปิดกรุในครั้งนั้นได้พระมาประมาณ 2,900 องค์ เป็นพระที่สมบูรณ์ และที่ชำรุดแตกหักอีกเป็นจำนวนมาก พระที่แตกกรุออกมาจะมีคราบกรุจับหน้าเสียส่วนใหญ่ เพราะโดนดินและเศษปูนในเจดีย์ทับถม ความสวยงามเป็นรอง พระที่ทำการตกพระครั้งแรก ๆ พระที่ทำการเปิดกรุเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2500 จึงเรียกกันว่า “พระกรุใหม่” มีครบทั้งหมด 9 พิมพ์ ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น พิมพ์ที่มีน้อยที่สุด คือ พิมพ์ปรกโพธิ์ คือ พบแค่ 17 องค์เท่านั้น แต่ที่พิเศษกว่านั้นก็คือ ได้พบพระของวัดเกศชัยโย และพระปางไสยาสน์ (พระนอน) อีกจำนวนไม่มากนัก

พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย

พุทธคุณ

พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ไม่ว่าจะเป็นพระกรุเก่า หรือพระกรุใหม่ พุทธคุณไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าพระสมเด็จวัดระฆังเลย เพราะสมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังษี ท่านได้ร่วมในการสร้างและปลุกเสก เพราะฉะนั้น พุทธคุณนั้นสุดยอดเหมือนกันเลยทีเดียว

พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม กรุเก่า หูยาน แก่ปูนเปลือกหอย
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม กรุเก่า หูยาน แก่ปูนเปลือกหอย
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม กรุเก่า หูยาน แก่ปูนเปลือกหอย

ที่มาพิมพ์ฐานแซมอกร่องหูยาน วัดบางขุนพรหม

พระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ได้สร้างบรรจุไว้ที่วัดบางขุนพรหม โดยใช้แม่พิมพ์ของวัดระฆัง พิมพ์ฐานแซม อกร่อง หูหยาน มาใช้ด้วย ศิลปแม่พิมพ์จึงเหมือนวัดระฆังมากที่สุด

พระสมเด็จพิมพ์ฐานแซมอกร่องหูยาน

เอกลักษณ์แม่พิมพ์ฐานแซมอกร่องหูหยาน สังเกตุเข้าใจง่าย
  • ด้านหน้า มีเส้นแซมที่ใต้องค์พระกับฐานชั้นแรกบนสุด และมีเส้นแซมระหว่างฐานชั้นบนสุดกับฐานสิงห์ชั้นกลาง เส้นพระกรรณ(หู)ชัดเจน แขนทั้งสองข้างคมชัด ลำตัวองค์พระเหมือนเอวบาง เส้นสังฆาฏิเป็นเส้นคู่ยาวชัดเจนอันเป็นที่มาของพิมพ์อกร่อง ตักขององค์พระติดชัด พระบาทขวายกสูงเป็นทรงขัดสมาธิเพชร เส้นแซมใต้ตักที่ติดชัด เส้นแซมใต้ฐานอาสนะชั้นบนสุดจะเป็นเส้นบางกว่าเส้นแซมใต้ตัก ฐานขาสิงห์ชั้นกลางมีเส้นแซมใต้อาสนะมาบรรจบกับฐานสิงห์ฝั่งขวา
  • ด้านหลัง ดูคล้ายสังขยา สังเกตุง่ายคือ ส่วนมากจะเป็นรอยรูพรุนเข็ม ปรากฏเป็นหลุมขนาดเล็ก หลุมใหญ่กระจายอยู่เต็ม มีรอยปริแยกที่เรียกว่ารอยปูไต่ และบางที่มีการหดตัว รอยย่นที่แห้งเป็นธรรมชาติทั่วแผ่นหลังขององค์พระ ส่วนของหลุมยุบลงไป เป็นการยุบตัว หดตัวของเนื้อมวลสารอย่างเป็นธรรมชาติ บางทีมีเม็ดกรวด หิน ดิน ทราย ปะป่นมาด้วยจะมีลักษณะมน ไม่เป็นเหลี่ยมแหลมคม
  • ด้านขอบข้าง จะเห็นรอยยุบตัว และรอยหลุดลุ่ยของมวลสารเป็นธรรมชาติ ไม่เรียบเนียน เพราะมีการตัดขอบ และเป็นจุดที่มีแรงกดน้อยที่สุด
นักสะสมรุ่นเก่าๆ มักจะมีคำกล่าวที่มากับพระสมเด็จ
  1. รอยรูพรุนเข็ม
  2. รอยหนอนด้น
  3. รอยปูไต่

คำจำกัดความคือ

  • รอยรูพรุนเข็ม เกิดมาจากการสลายตัวของอินทรีย์สารจากเศษอาหาร พืชและดอกไม้ ซึ่งเป็นส่วนผสมในมวลสารพระ เมื่อเวลาผ่านไปนับร้อยปี มวลสารหดตัวและหลุดล่อนไป เหลือแต่ร่องรอยรูพรุนเข็มปรากฏ หรือสลายไปตามกาลเวลา บางทีอาจถูกแมง แมลง มากัดกิน บนพื้นผิวจนหมดก็มี
  • รอยหนอนด้น เกิดจากเศษก้านธูปเล็ก เศษก้านดอกไม้แห้ง เศษอาหารแห้งเมื่อผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปี ได้เสื่อมสลายไปเหลือแต่ร่องรอยเป็นรอยขดเหมือนตัวหนอนซึ่งเรียกว่ารอยหนอนด้น
  • รอยปูไต่ เกิดจากการใช้ ไม้ตอก มีด หรือวัสดุมีคม นำมากรีดตัดขอลพระโดยกดลากลงมา เมื่อเนื้อปูนแห้งจะหดตัวลง จึงเกิดรอยปริแยกที่ขอบตามธรรมชาติ
คำ “ฐานแซม” ยังมีความหมายให้ใช้เพื่อเพิ่มฐานะ ยกระดับชีวิตให้สูงขึ้น “ตรียัมปวาย” เขียนไว้ พิมพ์ฐานแซม มี 8 พิมพ์

มี 6 พิมพ์ วัดระฆัง คือ

  1. พิมพ์เขื่อง
  2. พิมพ์โปร่ง
  3. พิมพ์ชะลูด
  4. พิมพ์ป้อม
  5. พิมพ์สันทัด
  6. พิมพ์ย่อม

มี 2 พิมพ์หลัง ที่มีเฉพาะบางขุนพรหม คือ

  1. พิมพ์อกร่องหูยานฐานบาง
  2. พิมพ์อกร่องหูยานฐานเส้น(พิมพ์นี้ใกล้เคียงพิมพ์ฐานคู่มาก)
ในปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง “ตรียัมปวาย” ปรมาจารย์แห่งพระสมเด็จ ได้ให้ความรู้ด้านหลังพระสมเด็จวัดระฆังไว้ถึง 8 แบบ คือ
  1. หลังรูพรุนปลายเข็ม
  2. รอยปูไต่
  3. รอยหนอนด้น
  4. รอยย่นตะไคร่น้ำหรือฟองเต้าหู้
  5. รอยกาบหมาก
  6. รอยสังขยา
  7. รอยลายนิ้วมือ
  8. รอยริ้วระแหง
พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม หูยาน กรุเก่า แก่ปูนเปลือกหอย

พระสมเด็จพิมพ์อกร่องหูยานฐานเส้น

นอกจากนี้ยังได้อธิบายถึงคุณวิเศษของผงวิเศษ 5 ประการเริ่มจากการทำดินสอผงวิเศษโดยมีส่วนผสมเครื่องยาดังนี้

  1. ดินโป่ง 7โป่ง
  2. ดินตีนท่า 7 ตีนท่า
  3. ดินหลักเมือง 7 หลักเมือง
  4. ขี้เถ้าไส้เทียนที่บูชาพระประธานในพระอุโบสถ
  5. ดอกกาหลง
  6. ยอดสวาท
  7. ยอดรักซ้อน
  8. ขี้ไคลเสมา
  9. ขี้ไคลประตูวัง
  10. ขี้ไคลเสาตะลุง
  11. ช้างเผือก
  12. ราชพฤกษ์
  13. ชัยพฤกษ์
  14. พลูร่วมใจ
  15. พลูสองหาง
  16. กระแจะตะนาว
  17. น้ำมันเจ็ดรส

ดินสอพองผสมกันแล้วป่นละเอียด เจือน้ำ ปั้นเป็นแท่งดินสอ หลังจากนั้นก็นำดินสอผงวิเศษมาทำผงปถมัง

การทำผงปถมัง

ใช้ดินสอพองผสมกันแล้วป่นละเอียด เจือน้ำ ปั้นเป็นแท่งดินสอ หลังจากนั้นก็นำดินสอ เขียนคาถา แล้วลบ เป็นผงที่ได้จะนำเป็นมลสารผงวิเศษ ผงวิเศษนี้จะมีอานุภาพของผงปถมัง คือ

  1. เมตตามหานิยม
  2. คงกระพันชาตรี
  3. มหาอุตม์
  4. แคล้วคลาด
  5. กำบังล่องหน
  6. ป้องกันภูตผีปีศาจ
  7. ป้องกันคุณไสยทั้งปวง

การทำผงอิธะเจ

หลังจากได้ผงปถมัง แล้วก็นำมาปั้นเป็นดินสอผงวิเศษอีกครั้ง โดยเขียนคาถา แล้วลบ เป็นผงที่ได้จะนำเป็นมลสารผงวิเศษ ผงวิเศษนี้จะมีอานุภาพของผงอิธะเจ คือ

  • เมตตามหานิยม
  • ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ

การทำผงมหาราช

หลังจากได้ผงอิธะเจ แล้วนำมาปั้นเป็นดินสอผงวิเศษอีกครั้ง โดยเขียนคาถา แล้วลบ เป็นผงที่ได้จะนำเป็นมลสารผงวิเศษ ผงวิเศษนี้จะมีอานุภาพของผงมหาราช คือ

  • เมตตามหานิยม
  • ป้องกันและถอนคุณไสย
  • แคล้วคลาด

การทำผงพุทธคุณ

หลังจากได้ผงมหาราช แล้วนำมาปั้นเป็นดินสอผงวิเศษอีกครั้ง โดยเขียนคาถา แล้วลบ เป็นผงที่ได้จะนำเป็นมลสารผงวิเศษ ผงวิเศษนี้จะมีอานุภาพของผงพุทธคุณ คือ

  • เมตตามหานิยม
  • กำบัง
  • เดาะ
  • ล่องหน

การทำผงตรีนิสิงเห

หลังจากได้ผงพุทธคุณ แล้วนำมาปั้นเป็นดินสอผงวิเศษอีกครั้ง โดยเขียนคาถา แล้วลบ เป็นผงที่ได้จะนำเป็นมลสารผงวิเศษ ผงวิเศษนี้จะมีอานุภาพของผงตรีนิสิงเห คือ

  • เมตตามหานิยม
  • ป้องกันภูตผีปีศาจ
  • ถอนคุณไสย
  • ป้องกันเขี้ยวเล็บงาเขาสัตว์
  • ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ
  • ป้องกันอุบัติเหตุ
  • ป้องกันอัคคีภัย
  • ป้องกันอันตรายทั้งปวง

การปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง

ยังมีบันทึกต่อว่า นอกจากนี้แล้วพระคาถาชินบัญชรที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ได้ใช้ในการปลุกเสกพระสมเด็จนั้น ยังได้อัญเชิญพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ และพระอรหันต์สำคัญหลายองค์ และยังอัญเชิญสูตรสำคัญในพุทธศาสนาทั้ง 7 มาประดิษฐานไว้ด้วย

สูตรสำคัญในพุทธศาสนาทั้ง 7 คือ

  1. รัตนสูตร
  2. กรณีเมตตสูตร
  3. องคุลิมาลสูตร
  4. ธชัคคสูตร
  5. ขันธปริตร
  6. โมรปริตร
  7. อาฏานาฏิยสูตร

ซึ่งอานุภาพของสูตรทั้งหมดได้รอบคลุมการป้องกันเรื่องโรคระบาด อำนวยผลให้มีความศิริมงคล มีคุณวิเศษในการป้องกันภูตผีปีศาจ คุณไสย บำบัดโรคาพยาธิต่างๆ เพิ่มพลังใจให้อาจหาญ บำราบภยันตรายที่เผชิญหน้าอยู่ให้ถึงวิบัติ ป้องกันเขี้ยว เล็บงา จากอสรพิษและสัตว์น้อยใหญ่ บันดาลให้แคล้วคลาดจากภยันตรายตลอดจนอุบัติเหตุทั้งปวง

พระเนื้อผงพุทธคุณ อายุพระเกือบ 150 ปี ความเก่าควรมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เนื้อหามวลสารหลักที่ใช้จะเป็นปูน ปูนหิน หรือปูนเปลือกหอย พื้นผิดขององค์พระต้องไม่ตึงเรียบไปทั้งองค์ พื้นผิวต้องปรากฏรูพรุนลึกบ้าง ตื้นบ้าง ซึ่งอาจจะเกิดจากอินทรีย์สารที่เป็นส่วนผสมในเนื้อพระย่อยและเสื่อมสลายหลุดรุ่ยไปจากผิวพระ ที่ขอบข้างขององค์พระจะเห็นรอยปริแยกที่ไม่เหมือนกัน เกิดจากการยุบตัวแห้งลงของมวลสาร ไม่เรียบเนียน เนื้อพระต้องหด ยุบตัวในจุดที่มีก้อนมวลสารฝังตัวอยู่ เป็นการยุบหดตัวจากภายในสู่ภายนอกคือลักษณะจะเหมือนความแห้งของผิวดินที่แตกระแหง เรามองเห็นด้านนอกนิดเดียว แต่ด้านในจะโพรงใหญ่กว่า

นักสะสมรุ่นเก่าๆ มีการศึกษาพระสมเด็จ

ควรต้องเข้าใจเรื่องพิมพ์ ธรรมชาติความเก่าถึงยุคของการสร้างพระ เนื้อหามวลสารของพระ อย่าไปยึดติดกับตำนานที่บอกว่ามีพระสมเด็จแตกกรุที่นั่น กรุที่นี่ โดยเด็ดขาด ส่วนสำคัญเมื่อเข้าใจถึงพิมพ์ทรง ธรรมชาติความเก่าของพระได้แล้ว ต้องมีใจหนักแน่น การที่ท่านจะนำพระไปให้ผู้ชำนาญการดู ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ชำนาญการที่เรานำไปให้ดูมีความชำนาญอย่างแท้จริง ทุกอย่างต้องมีเหตุ มีผลอธิบายได้ว่าพระแท้ควรเป็นอย่างไร พระเก๊ควรเป็นอย่างไร ในขณะเดียวกันก็ต้องเปิดใจพร้อมรับฟังเหตุผล คำอธิบายมา เพราะอย่างไรก็ตามอย่าลืมว่า ไม่มีใครเกิดทันท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สักคน

พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์ฐานแซม อกร่อง หูยาน คราบกรุเก่า

สวยงาม ไม่แตก ไม่หัก กร่อนตามธรรมชาติ
เนื้อมวลสารครบตามสูตรสมเด็จโต
เนื้อ แห้ง เหี่ยว ยุบ ยอ ย่น ตามกาลเวลา
น้ำมันตัวเชื่อม คราบกรุแห้ง ได้อายุ
องค์นี้ผ่านการประมูล Rotary

อ่านเพิ่ม

พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร วัดบางขุนพรหม เนื้อมันปู แก่ปูนเปลือกหอย

สวยงาม ไม่แตก ไม่หัก กร่อนตามธรรมชาติ
เนื้อมวลสารครบตามสูตรสมเด็จโต
เนื้อ แห้ง เหี่ยว ยุบ ยอ ย่น ตามกาลเวลา
น้ำมันตัวเชื่อม คราบกรุแห้ง ได้อายุ
องค์นี้ผ่านการประมูล Rotary

อ่านเพิ่ม

พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์เกตุบัวตูม แก่ตัวเชื่อม ไม่ผ่านการล้าง สวยงาม

สวยงาม ไม่แตก ไม่หัก กร่อนตามธรรมชาติ
เนื้อมวลสารครบตามสูตรสมเด็จโต
เนื้อ แห้ง เหี่ยว ยุบ ยอ ย่น ตามกาลเวลา
น้ำมันตัวเชื่อม คราบกรุแห้ง ได้อายุ
องค์นี้ผ่านการประมูล Rotary

อ่านเพิ่ม

พระปิดตา พิมพ์ยันต์ยุ่ง หลังยันต์นะ เนื้อสัมฤทธิ์ หลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง

สวยงาม เส้นนูนสวย คมชัดเจน
แบ่งปัน ไม่เคยผ่านการใช้งาน
หายาก เก็บสะสมอนาคตราคาไปไกล
พุทธคุณเป็นเลิศ เบญจภาคี ปิดตา พระหล่อโบราณ

อ่านเพิ่ม

พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว พิมพ์ปั้นลอยองค์ วัดเครือวัลย์ ชลบุรี

เนื้อผงคลุกรัก
พุทธศิลป์สวยงาม
พุทธคุณ เมตตา มหานิยม
พระสวยสมบูรณ์แบบนี้หาพบอยากมาก

อ่านเพิ่ม

พระผงสุพรรณ เนื้อดำ พิมพ์หน้าหนุ่ม กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

พระผง เนื้อดำ เก่าหายาก คมชัด
พิมพ์หน้าหนุ่มสวยงามไม่ผ่านการใช้งาน
พุทธคุณ เมตตามหานิยม คงกระพัน
ตลอดจน แคล้ว และคงกระพันชาตรี

อ่านเพิ่ม

คาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

การหัดสวด คาถาชินบัญชร ควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นวันครูและให้เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก หรือดอกมะลิ 1 กำ จุดธูป 3 5 ถึง 9 ดอก เทียน 2 เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนะโม 3 จบ ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึงสมเด็จโต

พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม 3 จบ นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐานว่า

คำภาวนาก่อนสวด

ตั้งนะโม 3 จบ  (ที่มาของบทสวด นะโม 3 จบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ

พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ

ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริ ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา (ภาวนา 10 จบ)

พระคาถาชินบัญชร ฉบับเต็ม

ก่อนสวดให้นึกถึง หลวงปู่โต พรหมรังสี แล้วตั้งจิตอธิษฐาน ว่า
ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง   ธะนะกาโม ละเภธะนัง
อัตถิกาเย กายะ ญายะ   เทวานัง ปิยะตัง สุตตะวา
อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ

เริ่มสวดบทพระคาถาชินบัญชร 15 บท

ชะยาสะนากะตา พุทธา     เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง        เย ปิวิงสุ นะราสะภา.
ตัณหังกะราทะโย พุทธา    อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง     มัตถะเกเต มุนิสสะรา.
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร.
หะทะเย เม อะนุรุทโธ        สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง  โมคคัลลาโน จะ วามะเก.
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง       อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก.
เกสะโต ปิฏฐิภาคัสมิง        สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน          โสภิโต มุนิปุงคะโว
กุมาระกัสสโป เถโร           มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง     ปะติฏฐาสิคุณากะโร.
ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ        อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา       นะลาเต ติละกา มะมะ.
เสสาสีติ มะหาเถรา            วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา             ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ          อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.
ระตะนัง ปุระโต อาสิ           ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ        วาเม อังคุลิมาละกัง
ขันธะโมระปะริตตัญจะ         อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ         เสสา ปาการะสัณฐิตา
ชินา นานาวะระสังยุตตา       สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา        พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.
อะเสสา วินะยัง ยันตุ            อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ          สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.
ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ           วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ       เต มะหาปุริสาสะภา.
อิจเจวะมันโต                     สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ                     ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ                   ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ                   ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต         จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

คำแปลพระคาถาชินบัญชร ทุกบท

พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

  • ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
  • พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง
  • พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
  • มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
  • พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
  • พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
  • ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
  • พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง
  • พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
  • อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
  • ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
  • ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล
  • ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ

ประวัติของคาถาชินบัญชร หรือพระคาถาชินบัญชร

คาถาชินบัญชร เป็นคาถาหนึ่งที่มีความสำคัญ และมีอายุยาวนานนับร้อยปี ตั้งแต่เริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณช่วงสมัยรัชกาลที่ 2 มาจนถึงปัจจุบัน เพราะด้วยพลานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์จึงทำให้ชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธหันมาท่องพระคาถานี้เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลให้กับตัวเอง อีกทั้งยังเป็นการป้องกันให้ตนเองนั้นพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ ทั้งปวง
มีการถกเถียงกันมาเป็นระยะเวลายาวนานนับทศวรรษเกี่ยวกับเรื่องราวที่ว่า ใครที่เป็นผู้แต่ง คาถาชินบัญชร ขึ้นระหว่าง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรํสี แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม กับพระมหาเถระผู้เชี่ยวชาญบาลีปกรณ์รูปหนึ่งจากเชียงใหม่ ซึ่งในกรณีของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้น เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าท่านเป็นเพียงแค่ผู้นำพระ คาถาชินบัญชร มาเผยแพร่ต่อ มิได้เป็นผู้แต่งขึ้นเอง
ตามที่ได้มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ได้ไปสวดพระคาถานี้ถวายองค์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงมีรับสั่งว่าถ้อยคำในบทสวดนั้นไพเราะ และได้ทรงซักถามเพิ่มเติมว่า “ขรัวโตได้มาจากไหน แต่งเองหรือเปล่า” สมเด็จพระพุฒาจารย์จึงได้ถวายพระพรตอบว่า “หามิได้ เป็นสำนวนเก่าของเมืองเหนือ นำมาแก้ไขดัดแปลงใหม่ ตัดตอนให้สั้นเข้า ของลังกายาวกว่านี้” ฉะนั้นจึงเป็นไปได้ว่าผู้แต่งขึ้นน่าจะเป็นพระภิกษุชาวล้านนารูปหนึ่ง อยู่ในสมัยพระเจ้าติโลกราชที่อาจะเป็นยุคทอง
เนื่องจากในยุคนั้นเป็นยุคสมัยที่มีการสนับสนุนให้พระเถระหลายร้อยรูปเดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกที่ลังกา เมื่อได้สำเร็จการศึกษาจึงมีการแข่งขันกันแต่งบาลีปกรณ์กันอย่างเอิกเกริกจนชื่อเสียงแผ่ขยายไปจนถึงพม่า กรุงศรีอยุธยา สิบสองปันา และล้านช้าง ทำให้เมืองเหล่านั้นต้องขอคัมภีร์ภาษาบาลีที่จารโดยพระภิกษุล้านนาไปศึกษาอย่างแพร่หลาย

ความหมายของชินบัญชร

ในความหมายของคำว่า ชินบัญชร นั้นแปลว่า กรง หรือ เกราะป้องกันภัยของพระพุทธเจ้า คำว่า ชิน หมายถึง พระพุทธเจ้า คำว่า บัญชร หมายถึง กรง หรือ เกราะ โดยที่เนื้อหาในคาถาในชินบัญชรนั้นจะเป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน 28 พระองค์ เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าพระนามว่าตัณหังกร เป็นต้น เดินทางลงมาสถิตอยู่ในทุกอณูของร่างกาย เพื่อเป็นการเสริมให้ตนเองนั้นมีพลังพุทธคุณให้ยิ่งใหญ่
จากนั้นจึงอัญเชิญพระอรหันต์ที่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 80 องค์ซึ่งเป็นผู้มีบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังได้มีการอาราธนาพระสูตรอันศักดิ์สิทธิ์ ที่ทรงอานุภาพในด้านต่างๆ มาสถิตในทุกส่วนของร่างกายจนรวมกันเป็นกำแพงแก้วคุ้มกัน ตั้งแต่กระหม่อมลงมาห้อมล้อมรอบตัวของผู้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรจนกระทั่งอันตรายก็ไม่สามารถหาช่องโหว่เพื่อสอดแทรกเข้ามาได้
เราได้รู้จักประวัติความเป็นมาของพระคาถาชินบัญชรอันศักดิ์สิทธิ์แล้ว คราวนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะต้องไปกำหนดจิตใจให้สงบเพื่อเริ่มสวดภาวนาพระคาถากันแล้ว

อานุภาพของพระคาถาชินบัญชร

พระคาถาชินบัญชรนี้มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์มาก หากผู้ใดสวดมนต์ หรือภาวนาคาถาชินบัญชรอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะกิน เดิน นั่ง นอน หรือภาวนาพระคาถาแม้ยามอาบน้ำ แปรงฟัน หรือแม้กระทั่งตอนทำงานก็จะช่วยเสริมให้เกิดความเป็นสิริมงคล สมบูรณ์พูลผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ำกราย เดินทางไปที่ได้ก็เกิดเมตตามหานิยม มีลาภผลทวี ขจัยภัยภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ
หากสวดคาถาชินบัญชรนี้ขณะทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริต แก้สรรพโรคได้หายสิ้น นับว่าเป็นอีกหนึ่งพระคาถาที่มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณที่ว่า “ฝอยท่วมหลังช้าง” เมื่อเดินทางไปที่ใดๆ ให้สวด 10 จบแล้วอธิฐานก็จะสำเร็จได้สมดังใจ
สำหรับใครที่ไม่ค่อยถนัดนักในการที่จะท่องคาถาชินบัญตามตัวหนังสือ หรืออยากจะจำพระคาถานี้ให้ได้ขึ้นใจ เราก็มีคาถาชินบัญชรในรูปแบบที่เป็นวีดีโอ หรือเสียงมาฝาก เอาไว้ให้ไปนั่งฟัง พร้อมกับท่องตามกันได้ง่ายๆ เชื่อว่าหากเพื่อนๆ หมั่นฟังเป็นประจำก็จะทำให้สามารถจดจำคาถาชินบัญชรนี้ได้โดยไม่ต้องเปิดอ่านจากหนังสือสวดมนต์อีกแล้วล่ะ
จงระลึกไว้เสมอว่า บทสวด หรือพระคาถาใดๆ ซึ่งรวมถึงพระคาถาชินบัญชรก็ไม่อาจสามารถพยุงเราให้รอดพ้นจากภัยอันตราย หรือกำหนดจิตใจของเราให้สงบ แน่วแน่ได้ด้วยตัวเองทั้งหมด ตัวของเรา ใจของเราเอง ยังคงต้องเป็นอีกหนึ่งแรงที่ช่วยประสานการทำงานให้การสวดภาวนาเหล่านั้นสัมฤทธิ์ผลด้วย อาจมีการนั่งสมาธิ สวดภาวนาพระคาถาต่างๆ หมั่นทำบุญ ตักบาตร และใช้ชีวิตอย่างรอบคอบ มีสติ เพียงเท่านี้ชีวิตของเราก็จะได้ดียิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ
ข้อมูลบางส่วนจาก sanook.com