พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร เนื้อมันปู แก่ปูนเปลือกหอย



สารบุัญ




ประวัติความเป็นมา
- วัดบางขุนพรหมใน (วัดใหม่อมตรส) ที่ประดิษฐานพระมหาเจดีย์ และพบพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมในกรุ ซึ่งเป็นวัดต้นตำนานพระกรุที่ลือชื่อก็คือ “พระสมเด็จบางขุนพรหม” ที่มีชื่อเสียงขจรขจายเป็นอย่างยิ่ง
- วัดบางขุนพรหมนอก (วัดอินทรวิหาร) ตามพระนามพระองค์เจ้าอินทร์ ที่ประดิษฐานพระหลวงพ่อโตยืนองค์ใหญ่




การสร้างพระ
การสร้างพระครั้งนี้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ท่านเห็นชอบ และยังแนะนํา ว่าถ้าจะสร้างพระให้สร้างเป็นพระเนื้อผง เหมือนที่ท่านเคยสร้างพระวัดระฆังฯ ที่มีชื่อเสียง ซึ่งพระวัดระฆังฯ มีชื่อเสียงเป็นที่เช่าบูชากันตั้งแต่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ยังไม่สิ้น
โดยท่านจะให้ยืมบล็อกที่สร้างพระวัดระฆังฯ ซึ่งเป็นบล็อกที่นิยมมีอยู่ 4 บล็อก ได้แก่
- .บล็อกพิมพ์ใหญ่
- บล็อกพิมพ์ทรงเจดีย์
- บล็อกพิมพ์เกศบัวตูม
- บล็อกฐานแซม
- บล็อกปรกโพธิ์




บล็อกแม่พิมพ์
การสร้างครั้งนั้นมีความคิดว่าจะสร้างให้ได้มากที่สุด สร้างให้ครบพระธรรมขันธ์ คือ 84,000 องค์ [สันนิษฐานว่าจำนวนที่สร้างจริงคงไม่เกิน 10,000 องค์] เมื่อสร้างเสร็จแล้วจะนําไปบรรจุในองค์พระเจดีย์ใหญ่ เพื่อที่ต่อไปภายหน้า หากประเทศชาติวิบัติ จนประชาชนเดือดร้อน ก็สามารถนําพระที่สร้างขึ้นออกมาใช้ได้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) มอบมวลสาร ผงวิเศษหลายชนิดที่ท่านปลุกเสกจากการร่ำเรียนตั้งแต่เป็นสามเณร ทั้งแนะนําให้ใช้เนื้อผงปูน เปลือกหอย หรือปูนหิน ผสมผสานสร้างพระขึ้นมา
หากการสร้างพระให้ครบ 84,000 องค์ บล็อกแค่ 4 บล็อก คงไม่พอ เสมียนตราด้วง จึงให้ช่างสิบหมู่ ที่เคยแกะบล็อกให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ทําบล็อกเพิ่มขึ้น โดยให้เลียนแบบพิมพ์เก่าของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่สร้างในคราวนั้นจึงมีทั้งหมด 12 พิมพ์ ประกอบด้วย
- พิมพ์ใหญ่
- พิมพ์ทรงเจดีย์
- พิมพ์เส้นด้าย
- พิมพ์เกศบัวตูม
- พิมพ์ฐานแซม พิมพ์ฐานคู่
- พิมพ์สังฆาฏิหูช้าง
- พิมพ์สังฆาฏิไม่มีหู
- พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร
- พิมพ์อกโผล่
- พิมพ์ปรกโพธิ์
- พิมพ์ไสยาสน์




วัสดุส่วนผสมในการสร้างพระ
- ปูนขาว
- ผง
- กล้วย
- ข้าวสุก
- เกษรดอกไม้
- งา
- น้ำมันงา น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น
- ผงอิธะเจ
- ผงปถมัง
- ผงตรีนิสิงเห
- ผงมหาราช
- ผงพุทธคุณ




บรรจุกรุ
เมื่อนำมาผสมเสร็จก็นำไปกดที่แม่พิมพ์ เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต ก็เข้าทำพิธีปลุกเสก ในครั้งนั้น สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้นำพระวัดระฆังที่ท่านสร้างไว้ก่อน จำนวนหนึ่งประมาณ สี่บาตรพระ เข้าไปร่วมบรรจุไว้ในเจดีย์ด้วย




ก่อนเปิดกรุ
ในปี พ.ศ.2425 ได้มีคนลอบนำพระออกมาจากเจดีย์ เพราะกิติศัพท์ของพระสมเด็จ ใช้รักษาโรคห่า (อหิวาตกโรค) ได้ โดยใช้วิธีตกหรือการตกพระ คือการนำลำไม้ไผ่ยาว ๆ ส่วนปลายข้างหนึ่งของไม้ไผ่นำดินเหนียวมาพอกให้เป็นตุ่ม แล้วสอดเข้าไปในช่องอากาศขององค์พระเจดีย์ให้ปลายไม้ไผ่มีดินเหนียวพอกกระทบกับพื้น เพื่อจะได้พระติดขึ้นมา ทำให้ได้พระไปจำนวนหนึ่ง
ในปี พ.ศ.2436 เกิดสงครามไทยกับฝรั่งเศส ทำให้ประชาชนพากันไปตกพระอีก เพื่อจะได้พระมาไว้ป้องกันตัว คราวนี้ได้พระไปจำนวนมากพอสมควร
ในปี พ.ศ.2450 ก็มีการตกพระอีก พระที่ทำการตกทั้งสามครั้งนั้น จะได้พระที่อยู่บน ๆ ไม่โดนดินหรือเศษฝุ่นในเจดีย์ทักถม จึงเป็นพระที่มีความสวยงามชัดเจน มีคราบกรุจับน้อย ซึ่งมักจะเรียกกันว่า “พระกรุเก่า”




การเปิดกรุ
ในปี พ.ศ.2500 ได้มีคนร้ายกลุ่มหนึ่งคิดจะได้พระทางลัด จึงได้ลอบไปเจาะองค์พระเจดีย์เสียเลยและได้พระจำนวนมาก ทำให้กรรมการของวัดบางขุนพรหมได้ประชุมกัน แล้วพร้อมตกลงที่จะเปิดกรุพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม เพื่อที่จะนำออกจำหน่ายให้ประชาชน เพื่อนำเงินมาบูรณะวัด จึงมีการเปิดกรุเป็นทางการ โดยได้ พล.อ.ประภาส จุรุเสถียร เป็นประธานในการเปิดกรุในครั้งนั้นได้พระมาประมาณ 2,900 องค์ เป็นพระที่สมบูรณ์ และที่ชำรุดแตกหักอีกเป็นจำนวนมาก พระที่แตกกรุออกมาจะมีคราบกรุจับหน้าเสียส่วนใหญ่ เพราะโดนดินและเศษปูนในเจดีย์ทับถม ความสวยงามเป็นรอง พระที่ทำการตกพระครั้งแรก ๆ พระที่ทำการเปิดกรุเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2500 จึงเรียกกันว่า “พระกรุใหม่” มีครบทั้งหมด 9 พิมพ์ ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น พิมพ์ที่มีน้อยที่สุด คือ พิมพ์ปรกโพธิ์ คือ พบแค่ 17 องค์เท่านั้น แต่ที่พิเศษกว่านั้นก็คือ ได้พบพระของวัดเกศชัยโย และพระปางไสยาสน์ (พระนอน) อีกจำนวนไม่มากนัก




พุทธคุณ
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ไม่ว่าจะเป็นพระกรุเก่า หรือพระกรุใหม่ พุทธคุณไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าพระสมเด็จวัดระฆังเลย เพราะสมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังษี ท่านได้ร่วมในการสร้างและปลุกเสก เพราะฉะนั้น พุทธคุณนั้นสุดยอดเหมือนกันเลยทีเดียว



ที่มาพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร วัดบางขุนพรหม
พระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ได้สร้างบรรจุไว้ที่วัดบางขุนพรหม มีพระสมเด็จอยู่พิมพ์หนึ่งซึ่งมีศิลปะขององค์พระแตกต่าง จากกลุ่มพระอื่นๆ คือพระสมเด็จพิมพ์ อกครุฑเศียรบาตร
พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ
ในสมัยก่อนนั้นอาจจะมีการเรียกชื่อแตกต่างจากปัจจุบัน คือในสมัยก่อนจะเรียกว่า “พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร” ทำไมจึงเรียกเช่นนั้น ศิลปะขององค์พระ ในส่วนพระเศียรขององค์พระจะนูนเด่นและดูกลมโตคล้ายบาตรของพระสงฆ์ หน้าอกขององค์พระนูนเด่นล่ำสัน คล้ายอกของครุฑ องค์พระอวบล่ำ องค์ประกอบของพระพักตร์เช่น พระกรรณ(หู) กางหนามองดูคล้ายกับสวมชฎา
ประกอบกับพระเกศที่หนาสั้น ในส่วนนี้พระพิมพ์อกครุฑแม่พิมพ์กลางจะเห็นได้ชัดว่าแม่พิมพ์อื่นๆ และแม่พิมพ์กลางก็จะเป็นแม่พิมพ์ที่พบมากที่สุดกว่าแม่พิมพ์อื่นๆ ถ้ามองโดยรวมแล้ว พระสมเด็จพิมพ์นี้มองดูคล้ายๆ กับครุฑ จึงเป็นมูลเหตุที่ตั้งชื่อกันเพื่อแยกพิมพ์ของพระแต่ละกลุ่มตามที่เห็นเด่นชัดว่า “อกครุฑเศียรบาตร”
ต่อมาก็เรียกกันให้สั้นๆ ว่า “พิมพ์อกครุฑ” พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑนั้น นอกจากพระพักตร์จะกลมโตนูน ลำพระองค์จะล่ำ หน้าตักของพระก็หนา ฐานแต่ละชั้นเป็นแท่งตันหนาทั้ง 3 ชั้น ที่ไม่เหมือนกับพระพิมพ์อื่นๆ ของพระในตระกูลพระสมเด็จ
อีกอย่างก็คือเส้นฐานของซุ้มเรือนแก้ว เราจะเห็นว่าพระกลุ่มนี้ไม่มีเส้นฐานซุ้มเรือนแก้ว แต่พระสมเด็จพิมพ์อื่นๆ จะมีเส้นฐานซุ้มเรือนแก้วทุกพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นของวัดระฆังฯ หรือบางขุนพรหม ศิลปะโดยรวม ของพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑนั้น ก็ดูจะแตกต่างจากกลุ่มพระสมเด็จพิมพ์อื่นๆ ทุกพิมพ์
พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ เท่าที่พบและถือเป็นมาตรฐานที่มีมูลค่ารองรับของสังคมพระเครื่อง มีอยู่ 3 พิมพ์คือ พิมพ์อกครุฑใหญ่ พิมพ์อกครุฑกลาง และพิมพ์อกครุฑเล็ก พิมพ์อกครุฑเล็กจะพบน้อยมาก เท่าที่พบเห็นส่วนมากจะเป็นพิมพ์อกครุฑใหญ่ และพิมพ์อกครุฑกลางเสียเป็นส่วนใหญ่ และพิมพ์ที่พบเห็นมากที่สุดก็จะเป็นพิมพ์อกครุฑกลาง
พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑนั้นมีเรื่องเล่าขานกันมากมายหลายเรื่อง เช่นเรื่องพระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์ ที่ว่ากันว่าเป็นพิมพ์อกครุฑเศียรบาตร เป็นต้น ก็เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อๆ กันมา ในส่วนนี้ผมคงจะไม่ไปกล่าวถึง
คงจะขอกล่าวถึงพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑของกรุวัดบางขุนพรหม ที่เป็นที่ยอมรับว่ามีมูลค่ารองรับเป็นมาตรฐานสากลของสังคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาเท่านั้น และพระพิมพ์นี้ตอนที่เปิดกรุอย่างเป็นทางการก็พบพระพิมพ์นี้อยู่กรุด้วย

พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑของวัดบางขุนพรหม
เท่าที่พบในสังคมพระเครื่องก็มีทั้งที่เป็นพระกรุเก่าคือไม่มีขี้กรุเนื้อจัด และพระกรุใหม่ที่มีขี้กรุจับอยู่บนผิวขององค์พระ และก็อาจจะเป็นไปได้ว่าพระของวัดบางขุนพรหมก่อนบรรจุกรุนั้นก็อาจจะมีพระบางส่วนที่แจกจ่ายไปก่อนที่บรรจุในกรุก็เป็นไปได้
พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑ เท่าที่เขาแยกพิมพ์ไว้ โดยให้ชื่อตามขนาดขององค์พระ แม่พิมพ์ที่องค์พระมีขนาดเขื่องกว่าแม่พิมพ์อื่นก็ตั้งชื่อว่าพิมพ์ใหญ่ แม่พิมพ์ที่มีขนาดย่อมลงมาหน่อยก็เรียกว่าพิมพ์กลาง และแม่พิมพ์ที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นพิมพ์เล็ก
ในสมัยก่อนพระพิมพ์เล็กก็มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพิมพ์ว่าวจุฬา เนื่องจากวงแขนขององค์พระกางออกมองดูมีลักษณะคล้ายว่าวจุฬา แต่ปัจจุบันก็เรียกแค่พิมพ์เล็กเท่านั้น ศิลปะของพระสมเด็จพิมพ์อกครุฑทั้ง 3 แม่พิมพ์ มีลักษณะแตกต่างจากพระสมเด็จที่เจ้าประคุณสมเด็จสร้างไว้ทุกพิมพ์อย่างที่บอกมาตั้งแต่ต้น
และทั้ง 3 แม่พิมพ์นี้มีลักษณะศิลปะไปในทางเดียวกัน จึงสันนิษฐานได้ว่าช่างผู้แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จพิมพ์อกครุฑทั้ง 3 แม่พิมพ์นี้น่าจะเป็นคนคนเดียวกัน ศิลปะจึงออกมาในทางเดียวกัน
คาถาชินบัญชร สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี
การหัดสวด คาถาชินบัญชร ควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดี ซึ่งถือเป็นวันครูและให้เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก หรือดอกมะลิ 1 กำ จุดธูป 3 5 ถึง 9 ดอก เทียน 2 เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนะโม 3 จบ ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึงสมเด็จโต
พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ เพื่อให้เกิดอานุภาพยิ่งขึ้น ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม 3 จบ นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐานว่า
คำภาวนาก่อนสวด
พระคาถาชินบัญชร ฉบับย่อ
ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริ ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พะ ทา (ภาวนา 10 จบ)
พระคาถาชินบัญชร ฉบับเต็ม
เริ่มสวดบทพระคาถาชินบัญชร 15 บท
คำแปลพระคาถาชินบัญชร ทุกบท
พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์ ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์
มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น
- ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก
- พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง
- พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย
- มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง
- พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ
- พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก
- ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่
- พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง
- พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ
- อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น
- ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ
- ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล
- ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ